วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

มารยาทในการเข้าคลาส เรียนเต้นที่ Dance Studio โดย ครูโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา (Repost from 2007 blog)

สวัสดีครับ

ครูโอ๊ตไปเจอโพสที่เขียนไว้ตั้งแต่ตอนไปเรียนเต้นที่ The EDGE ที่ L.A. เมื่อสมัยยังอยู่ที่อเมริกา ตอนปี 2007 เกี่ยวกับเรื่องมารยาทในคลาสเรียนเต้น เลยนำมาฝากกันไว้ สำหรับน้องๆ คนไหนที่ชอบและรักการเต้น ที่เพิ่มเริ่มฝึกใหม่ๆ หรือ คุณครูผู้สอนเต้นที่เห็นความสำคัญของหัวข้อนี้ ก็สามารถนำไปให้ลูกศิษย์ของตนอ่าน เพื่อให้นักเรียนทุกคน เรียนรู้ถึงมารยาทที่ดีได้นะครับ

ไปเรียนรู้เรื่องนี้ กันเลยดีกว่าครับ

.....................

บางครั้ง แดนเซอร์ที่เข้าคลาสบางคน ไม่ค่อยได้สนใจครูผู้สอนมากนัก เพราะมัวแต่คุยกัน (เสมือนนึกว่าเก่งแล้ว หรือจำท่าได้แล้ว) ซึ่งแดนเซอร์ที่ยืนอยู่ข้างๆ อาจเสียสมาธิในการจดจำท่าเต้นได้ดั้งนั้นวันนี้พี่โอ๊ตจึงอยากจะนำเสนอ “มารยาทในการเรียนเต้นใน Dance Studio” มาบอกน้องๆกัน สามารถนำมารยาทเหล่านี้มาใช้ในคลาสเรียนเต้นเพื่อให้น้องๆพัฒนาทักษะการเรียนเต้น ควบคู่ไปกับการมีมารยาทที่ดีในการเข้าคลาสเคารพครูผู้สอนและเคารพเพื่อนร่วมคลาสมารยาทนี่ถือเป็นมารยาทสา กลที่น้องๆทุกคนเอาไปใช้ในทุกๆที่ไม่ว่าจะเป็นคลาสเต้นในประเทศไทยหรือในประเทศอเมริกา (รวมทั้งประเทศอื่นๆ)

มารยาทสากลในการเข้าคลาสเรียนเต้นใน Dance Studio

1. Be on time มาเรียนตรงเวลา – ถ้าให้ดี เราควรมาก่อนเวลาจริงสัก 5-10 นาทีเพื่อมาวอร์มร่างกายเราให้มีความพร้อมในการเต้น ร่างกายที่มีความพร้อมความยืดหยุ่นจนสามารถทำให้เราเต้นได้ดียิ่งขึ้น หากว่าเรามีธุระจำเป็นต้องมาสาย หรือต้องออกจากคลาสก่อนเราควรแจ้งให้คุณครูท่านทราบล่วงหน้า

2. Warm Up อย่างที่พี่โอ๊ตบอกไปในข้อ 1 การวอร์มร่ายการเป็นสิ่งที่สำคัญในการเต้นเมื่อมาถึงคลาสก่อนเวลา เรามีเวลาในการเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เหมาะสม เกล้าผมขึ้น (หากเป็นน้องๆผู้หญิงที่ไว้ผมยาว) ก่อนที่คลาสเต้นจะเริ่มการเตรียมพร้อมที่ดีทำให้เราสามารถโฟกัสท่าเต้นที่ครูสอนได้อย่างรวดเร็ว

3. Follow dress codes เสื้อผ้า หน้า ผม ควรให้เหมาะสมกับแต่ละคลาสเรียน ไม่ใช่แต่งหน้าซะจัดอย่างกับประกวดนางงามลิงมาเข้าคลาสเต้นบัลเล่ล์ หรือใส่เสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมหรือรองเท้าไม่ถูกประเภทของการเต้น 

4. If you are new, stand in the middle or in the back row 


ถ้าน้องๆที่เพิ่งเริ่มหัดเต้นมาเข้าคลาส เราควรยืนประมาณแถวกลางๆ หรือแถวหลังก่อน เพื่อให้นักเรียนที่เต้นเก่งแล้วยืนแถวหน้าเราจะได้แอบดูเค้าได้ หากเรามองไม่เห็นครูผู้สอน มารยาทข้อนี้พี่โอ๊ตใช้ตอนเรียนเต้นใหม่ๆ เราไม่ควรไปยืนเกะกะอยู่ข้างหน้าเพราะหากเราเต้นไม่ทัน อากจะถ่วงเวลาคนอื่นๆได้ทางที่ดีเราควรยืนประมาณแถวกลางๆไว้ เพื่อให้เราสามารถเต้นตามคนอื่นได้ทัน เมื่อเราเข้าคลาสบ่อยๆ หรือมีความชินกับสไตล์ของครูสอนเต้นแล้วเราค่อยๆเขยิบมาแถวหน้าๆ เพื่อให้ครูได้เห็นความสามารถโดยทั่วไปหากในคลาสมีนักเรียนมากๆ คุณครูที่นี่จะให้นักเรียนสลับแถวกันโดยนักเรียนแถวข้างหลังขึ้นมาลองเต้นแถวข้างหน้า เป็นการเปิดโอกาสให้เรากล้าแสดงออกและครูสามารถช่วยแก้ไขจุดบกพร่องได้ง่ายขึ้น

5. Maintain the dance space and Never Block the accompanist’s view of the instructor พูดง่ายๆก็คือ อย่ายืนบังคนข้างหลัง หรือสกัดดาวรุ่ง เพื่อไม่ให้เค้ามองเห็นครู เวลาเราเรียนเต้น เราก็อยากมองเห็นครูและตัวเราเองในกระจกทุกคน เพราะฉะนั้นเราต้องหาพื้นที่เต้นของเราเอง อย่าบังคนอื่นและหาที่ที่เราสามารถมองเห็นครูผู้สอน และตัวเราเองให้ได้ หากคนข้างหน้าเราบัง เราก็ควรพูดดีๆขอความกรุณาให้เค้าขยับออกไปหน่อยเพื่อให้เราสามารถมองเห็นกระจกและครูได้

6. Do not chew GUM! อย่าเคี้ยวหมากฝรั่งในระหว่างเข้าคลาสเต้น ที่อเมริกานี่เป็นสิ่งที่ครูสอนเต้นหลายๆคนถือกัน ฝรั่งที่นี่ติดเคี้ยวหมากฝรั่งกันมาก ที่นี้เวลาเต้นที่มีท่าโลดโผน หรือหมุนบ่อยๆ เจ้าหมากฝรั่งอาจติดคอตายได้แทนที่จะได้เป็นแดนเซอร์มืออาชีพสมใจ อาจต้องเข้าหามส่งเข้าโรงพยาบาลก่อน อีกอย่างบางคนเคี้ยวหมากฝรั่งเสียงดังซึ่งถือว่าเป็นมารยาทที่ไม่งาม

7. Do not mark the steps อย่าเต้นมาร์คท่า มารยาทข้อนี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของคุณครูแต่ละท่าน เราในฐานะนักเรียนควรเต้นอย่างเต็มที่เสมือนเต้นจริงทุกๆครั้ง เพื่อให้ร่างกายชินกับท่าต่างๆ และในที่สุดร่างกายจะเคลื่อนไหวไปยังท่าต่อไปอย่างอัตโนมัตโดยที่เราไม่ต้องคิดว่าต่อไปคือท่าอะไรยกเว้นใ นบางกรณีที่คุณครูบอกอนุญาติให้เต้นมาร์คได้ เพราะต้องการให้นักเรียนคิดทบทวนตั้งแต่แปดแรกจนถึงแปดที่แปด คิดเสมอว่าการเต้นเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่ได้ใช้ร่างกายเราในการสร้างสรรค์ movementให้เข้ากับจังหวะเพลง(โดยเฉพาะเพลงที่เราชอบ) การเต้นด้วยใจ 150% มันเห็นความแตกต่างกับเต้นแค่ 50% อย่างชัดเจน คุณครูก็สามารถเห็นศักยภาพของเราได้เต็มที่ อย่าหักโหมจนเกินไป หากเรามีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง หรือโรคหอบควรแจ้งให้ครูทราบเพราะร่างกายอาจเต็นเต็มแรงไม่ได้ทุกครั้ง listen to your body!(ฟังร่างกายของเราเองว่าไหวไม๊ )

8. Listen to questions or corrections ให้ตั้งใจฟังคำถามที่นักเรียนคนอื่นถาม
หรือให้เราสังเกตุการแก้ไขท่าเมื่อครูแนะนำ คนไทยเราไม่ค่อยกล้าพูด กล้าถามในชั้นเรียนแต่แดนเซอร์ที่นี้ถ้าไม่เข้าใจท่าเต้นบางท่าที่มีความซับซ้อนและยาก เค้าจะถามทันทีเราก็ควรตั้งใจฟังคำถามและคำตอบ รวมทั้งฝึกซ้อมไปพร้อมๆกัน ไม่ใช่แต่พยักหน้าว่าเราเข้าใจบางครั้งครูอาจให้คำแนะนำหรือบอกเทคนิคการเต้นท่านี้ให้กับแดนเซอร์ที่ถามค ำถามซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับเรามากๆ บางทีเราไม่รู้หรอกว่าเราเต้นท่านี้ไม่ค่อยดีเหมือนกับครู การที่เราตั้งใจฟังและตั้งใจเต้น จะทำให้เราปรับปรุงท่าเต้นของเราให้ดียิ่งขึ้นแต่อย่าถามให้มากเกินงามเพราะอาจรบกวนการสอนของครูได้ เราอาจเดินไปถามครูต้องช่วงพักดื่มน้ำระหว่างชั้นเรียน หรือหลังเลิกเรียนเพื่อจะได้กลับไปฝึกฝนที่บ้าน

9. Thank the Dance Instructor/Teacher and the accompanist, if applicable

ขอบคุณคุณครูผู้สอนผู้ช่วยสอน มารยาทข้อนี้พี่โอ๊ตทำทุกครั้งในการเข้าคลาสเต้น การเป็นแดนเซอร์ที่ดีต้องรู้จักให้ความเคารพครูที่สอนวิชาเรา เราไม่มีทางเก่งได้ถ้าไม่มีครูที่ดีที่มีความอดทนในการสอน หรือแป่งปันวิชาและเทคนิคในการเต้นบางครั้งครูสอนเต้นที่มีชื่อเสียงมากๆในอเมริกาจะมีครูช่วยสอนเต้น เพราะมีนักเรียนจำนวนมากในชั้นเรียนเราก็ควรขอบคุณผู้ช่วยสอนด้วย พี่โอ๊ตขอบคุณแม้กระทั่งคนที่เต้นเก่งกว่าเราที่เราชื่นชอบ การที่เรามีความนอบน้อมและจริงใจในการขอบคุณและในการชมของเราจะส่งผลให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนร่ว มชั้นเรียนเพราะบางครั้งแดนเซอร์คนที่เต้นเก่งๆ ก็เดินมาบอกเราว่าวันนี้คุณเต้นเยี่ยมจริงๆ เท่านั้นแหละหัวใจพองโต ยิ่งถ้าได้รับคำชมจากคุณครูผู้สอนจะทำให้เรามีกำลังใจในการเต้นยิ่งขึ้น โอ้เกือบลืมไปว่า หลังจากเต้นรอบสุดท้ายก่อนคลาสเลิก แดนเซอร์และนักเรียนทุกคนในชั้นจะปรบมือให้กับครูสอนเต้น
เป็นการแสดงการขอบคุณที่ครูสอนในวันนี้

10. Treat the studio like it is your home and clean up after yourself 

มารยาทข้อสุดท้ายนี้ก็คือการรักษาความสะอาดสตูดิโอที่เราเรียนให้เหมือนกับบ้านของเราเอง บางครั้งเราทำน้ำหกบนพื้นหรือกินขนมแล้วเศษขนมตกหล่น เราควรเช็ดพื้นนั้น และหยิบเศษขนมหรือขยะที่เราเห็น ไปเก็บทิ้งให้ถูกที่รองเท้าที่เราใส่เรียนเต้นก็ไม่ควรสกปรกมากนัก เพราะเศษดิน หรือโคลนอาจตกหล่นบนพื้นห้องเรียนเต้นได้หากน้องๆที่มีเหงื่อมากในขณะเต้น เราก็ควรหาผ้าขนหนูเช็ดเหงื่อเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้พื้นลื่นหรือเหนียวหนึบหนับ

มารยาทเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญควบคู่กับการเรียนรู้ทักษะการเต้น ดังนั้นเราควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะนั่นหมายความว่า น้องๆให้ความรักและเคารพครูผู้สอน, เคารพเพื่อนร่วมคลาส, เคารพศิลปะการเต้น, เคารพสตูดิโอที่เรียนเต้น และสุดท้ายน้องๆเคารพตัวเองด้วย ถ้าน้องๆฝึกมารยาทเหล่านี้ในชั้นเรียนทุกครั้ง พี่โอ๊ตเชื่อว่าครูผู้สอนคงมีพลังและกำลังใจสอนมากยิ่งขึ้นทีเดียว

พี่โอ๊ต

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ร้อนใน แปลเป็นภาษาอังกฤษ ว่าอะไร โดย ครูโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา

แงๆ วันนี้ ตื่นเช้ามาแล้ว ครูโอ๊ตเป็นร้อนใน หลังจากไม่ได้พักผ่อนเพราะทำงานติดกันเป็นเวลา 1 อาทิตย์เต็มๆ เลยสงสัยว่า ว่าเจ้าแผลร้อนในนี้ พูดเป็น ภาษาอังกฤษว่าอะไร

แผลร้อนใน เราใช้ภาษาอังกฤษ ว่า Cold Sore ( โคลดฺ ซอลลฺ) หรือบางครั้งเรียกว่า fever blisters

Cold Sores are groups of small blisters on the lip and around the mouth. The skin around the blisters is often red, swollen, and sore. The blisters may break open, leak a clear fluid, and then scab over after a few days. They usually heal in several days to 2 weeks.
Source: http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/cold-sores-topic-overview

ถ้าเราจะบอกว่า เราเป็นร้อนใน เราพูดว่า "I have a cold sore."

นานๆเป็นทีนะครับ ด้วยความอยากรู้อยู่แล้วว่าเกิดจากอะไร เลยไปลองศึกษาค้นคว้าดู พบว่า

สาเหตุของอาการแผลร้อนใน ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ที่พบมากๆคือ เกิดจาก
1. พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย (Not getting enough sleep)
2. ความเครียด (Stress)
3. เหนื่อยมาก แบบทำงานหามรุ่งหามค่ำ (Fatigue อ่านว่า ฟะ ทีคคฺ)

วิธีการรักษาหรือ กำจัด (Get rid of) เจ้าอาการร้อนใน ทำได้ง่ายๆดังนี้ครับ


เอาง่ายๆนะ นอนหลับให้เพียงพอ ไม่เครียด ล้างปากบ่อยๆ อย่าไปแตะแผล ดื่มน้ำเยอะๆนะครับ

ถ้าใครที่เป้นร้อนในเหมือนครูโอ๊ต ขอให้หายเร็วๆนะจ๊ะ

จาก ครูโอ๊ต คร้าบ :)

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

Kru Oat (Chanukrit Thienkalaya): Recent Gigs with Herbalife Extravaganza (Singapore) and AWTU 2014 (Macau)

Kru Oat is well-known for his skill in working with non-dancers.  With his excellent English, positive attitude, encouraging manner, and focus on fun, he has the rare ability to make them feel confident, while achieving impressive results.  Just this year alone, HerbaLife engaged Kru Oat to choreograph two dance shows for a total of 45 non-dancers for their Extravaganza in Singapore in May 2014.  Kru Oat was so successful in preparing the non-dancers for their show that HerbaLife immediately invited him back to do another show with over 35 participants for their regional conference,  Active World Team University (AWTU) in Macau in September 2014.


"I am so happy to see such a great group of Herbalife distributors coming together and putting fantastic show for the audiences", said Kru Oat.

"When I believe in my students, the magic always happen." Kru Oat confirms.

Thank you Herbalife for giving me such a good opportunity to be part of your successful event.  See you soon in Thailand! 

Kru Oat
Chanukrit Thienkalaya

Show Director, Choreographer, Dance Teacher
DancerOat@hotmail.com
085-798-1881

Click here for Reference









วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ผลการโหวต Scotland ขอแยกประเทศจากเมืองผู้ดีอังกฤษ โดย ครูโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา

ลุ้นกันใจจดใจจ่อ การผลคะแนนประชามติว่า จะให้ประเทศสก๊อตแลนด์ แยกประเทศออกจากประเทศอังกฤษ ออกมาเป็นเอกเทศหรือไม่ หลังจากอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษมากว่า 307 ปี


              แหล่งข้อมูลข่าว: www.foxnews.com
              http://www.foxnews.com/world/2014/09/19/scotland-independence-referendum-837898067/

เจอคำศัพท์น่าสนใจ เลยต้องนำมาให้นักเรียนได้รู้กัน จะได้ไม่ตกข่าวนะครับ
อีกทั้ง คุณครูและอาจารย์ อาจจะนำข่าวสาร เหตุการณ์ที่กำลังเป็นที่สนใจออกข้อสอบด้วย
ดังนั้น เราควรเตรียมพร้อมกันให้มากๆ

เริ่มจาก KEYWORD ของข่าวนี้เลย

Referendum (N.) = การลงประชามติ หรือ คะแนนเสียงชี้ขาดจากคำตัดสินของประชาชน
อ่านแบบแยกเป็นคำๆ Line breaks: ref¦er|en¦dum  เรฟ เฟอะ เร็น ดัม
ตัว phonetic /ˌrɛfəˈrɛndəm/
(Source: Oxford Dictionaries Online)

Reject  (V.) = Deny ปฏิเสธ
Independence (N.) = ไม่ขึ้นอยู่กับใคร ความเป็นอิสระ เอกเทศ
Historic (Adj.), /hɪˈstɒrɪk/ = Famous or important in history, or potentially so. 
เหตุการร์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
Vote (N.) = การโหวต ถ้าเป็น กิริยา แปลว่า โหวต ออกเสียง

ไหน รู้คำศัพท์แล้ว ลองบอกครูโอ๊ตสิครับ ว่า ข่าวนี้ พูดว่าอะไร

ครูโอ๊ต :)

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

What I learned from the Into East Asia Conference in Siem Reap - Kru Oat เรียนรู้การใช้ภาษาอังกฤษจากการประชุมนานาชาติ ครูโอ๊ต

ครูโอ๊ตได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปเป็นพิธีกร (อังกฤษ) ในการประชุมนานาชาติ Into East Asia Conference 2014 ที่เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา

ครูโอ๊ตได้เรียนรู้อะไรมากมายในวงการศึกษา โดยเฉพาะเด็กๆที่อยากไปเรียนต่อต่างประเทศ

แต่ในบล๊อคนี้ ครูโอ๊ตอยากเน้น สำนวนของเจ้าของภาษา ที่เขาใช้จริงๆในการนำเสนอมหาวิทยาลัยของตัวเอง

ครูเห็นว่ามีหลายๆสำนวน วลี และประโยคที่น่าสนใจ จึงรวมรวมมาฝากนักเรียนกัน

"We meet both of the worlds." - เราเจอโลกของทั้งสองอย่างนี้ (ในที่นี้ พูดถึง เมืองที่ มีทั้งภูเขา ธรรมชาติที่สวยงาม และเมืองที่มีแหล่งช๊อปปิ้งมากมาย)

"I want students to think for themselves, solve the problems for themselves, and stand on their own feet" - Dr. Sharon Sundue, Harvard University Alumni, Into East Asia Conference
Stand on their own feet = ยืน (หยัด)ได้ด้วยตัวเอง 

"there're not a lot of options available." - ไม่ค่อยมีทางเลือกมากเท่าไหร่

"There are great opportunity for your students to tap into." - tap into = ได้ลองใช้มัน (ในประโยคนี้)
tap into = to manage to use something in a way that brings good results. 
                หมายถึง การใช้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยว่าจะเกิดประโยชน์จากการใช้มัน
(Cambridge Universities Online)

"making the most of something." =ใช้ ___ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด



วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Phonics and Pronunciation Training for ESL Teachers คอร์สการเรียนรู้เรื่องโฟนิคและการออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับ ครูสอนภาษาอังกฤษ

สวัสดีครับคุณครู และผู้ที่สนใจทุกท่าน

ครูโอ๊ต ได้รับ request มากมายเกี่ยวกับการทำอย่างไรให้ออกเสียงภาษาอังกฤษ (pronunciation) ได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา และวิธีการสอนโฟนิค (ระบบที่ช่วยให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงและสะกดคำภาษาอังกฤษ ได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น)  ซึ่งทั้งสองวิธีนี้เป็นเคล็ดลับที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้ดีเหมือนฝรั่ง และลด accent ได้ดีที่สุด

ครูโอ๊ตและครูบรู๊ซ เลยตั้งใจจัดคอร์ส เทรนนิ่ง อบรม สัมมนา หัวข้อ  Phonics and Pronunciation Training for ESL Teachers ขึ้นมาเพื่อให้คุณครูและอาจารย์ ที่กำลังสอนภาษาอังกฤษ สามารถนำไปสอนกับนักเรียนของท่านได้อย่างมั่นใจ

นอกจากนี้ ครูโอ๊ตยังเปิดอบรมสำหรับองค์กร พนักงาน รวมทั้งผู้สนใจทั่วไปเกี่ยวกับการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง และระบบโฟนิคที่จะทำให้คุณมั่นใจเวลาอ่านคำใหม่  และอ่านภาษาอังกฤษ รวมทั้งสะกดคำภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นจำและมีหลักการมากขึ้น

สนใจให้ครูโอ๊ตและครูบรู๊ซ อบรมที่โรงเรียนของท่าน หรือ องค์กรของท่าน
โปรดอีเมล์ติดต่อ มาที่ Chanukrit@hotmail.com หรือ 085-798-1881
Facebook: ครูโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา
Instagram: IG @KruOat
Services: รับอบรมคอร์สภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, จัดแคมป์ภาษาอังกฤษ, สอน O-Net ม. 6 ทั่วประเทศไทย, เทรนนิ่งในหัวข้อที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษทุกรูปแบบ, สอน English Conversation, ทั้งกลุ่มและเดี่ยว, Home School, Learn English through Drama (Kru Kim, Kru Eve and Kru Oat)




PHONICS TRAINING FOR TEACHERS

An ESL Workshop

by
Chanukrit Thienkalaya (Kru Oat)
&
Bruce Wright (Kru Bruce)

Prepared for
_______________________________________
Friday, August 8, 2014
Bangkok

DESCRIPTION

This is a 2-day ESL workshop for Thai teachers of English that focuses on phonics, pronunciation, and teaching pronunciation in the classroom.

SCHEDULE

Duration        2 days
Total Hours   12 hours
Schedule       9:00 – 4:00

COURSE CONTENT

DAY ONE

Phonics & Pronunciation
9:00    Articulation of the Lips, Tongue, and Mouth   Kru Oat                            
10:00  The International Phonetic Alphabet (IPA)       Kru Oat & Kru Bruce      
11:00  Phonics                                                              Kru Oat & Kru Bruce     
12:00  Lunch
1:00    Problem Sounds for Thais                                 Kru Bruce                        
2:00    Phonics Games for the Classroom                     Kru Oat                            
3:00    Incorporating Pronunciation into Lessons         Kru Oat & Kru Bruce      

DAY TWO

Intonation & Meaning
9:00    Word Stress & Its Importance                           Kru Bruce                        
10:00  Intonation & Meaning                                       Kru Oat & Kru Bruce      
11:00  Putting It All Together                                      Kru Oat & Kru Bruce      
12:00  Lunch
1:00    Teaching Phonics to Children                           Kru Oat                            
2:30    Pronunciation through Short Dramas                Kru Oat & Kru Bruce      
3:00    Q & A and Feedback                                        Kru Oat & Kru Bruce      

การอบรม สอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

COURSE FEE

PLEASE CONTACT KRU OAT FOR A QUOTE. 085-798-1881
*Not including travel & hotel, if outside Bangkok.





ภาพบรรยากาศ การติว โอเน็ท (O-Net 57) มากกว่า 120 โรงเรียนทั่วกรุงเทพ อาทิ โรงเรียนสวนกุหลาบ, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนสตรีวิทยา 2, โรงเรียนสายน้ำผึ้ง, โรงเรียนเซ็นฟรัง, และโรงเรียนอื่นๆอีกมากมาย














วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Share My Passion, Share My Thoughts!: years old or year old สรุป มี -s หลัง years old ไหมคะในภาษาอังกฤษ โดย ครูโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา

Share My Passion, Share My Thoughts!: years old or year old สรุป มี -s หลัง years old ไหมคะในภาษาอังกฤษ โดย ครูโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา

years old or year old สรุป มี -s หลัง years old ไหมคะในภาษาอังกฤษ โดย ครูโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา

วันนี้ มีคำถามจากเพื่อนครูโอ๊ตเองครับ ถามว่า เราใช้ years old หรือ year old กันแน่เวลาเราพูดถึงอายุ


คำตอบ ใช้ years old ครับ ในกรณีที่เราต้องการแนะนำตัวเอง และ years เป็นคำนาม เมื่อมีมากกว่า 1 จึงต้องเติม -s ลงไป แล้วเอา old ที่เป็นคำ adjective มาขยายตามหลัง

เช่น I'm 18 years old.  ฉันอายุ 18  อันนี้ถือว่าถูกหลักแกรมม่ามากที่สุด

แต่เวลาพูดกันจริง ฝรั่งไม่พูดคำว่า years old ครับ ส่วนใหญ่พูดแต่ ตัวเลขเฉยๆ เช่น I'm 18.
(ก็เป็นอันรู้กันว่า อายุ 18 ปี)

สิ่งที่ต้องควรจำคือ years old นี้มาติดกันตลอด ห้ามลืมคำในคำหนึ่งไปนะจ๊ะ เช่น

            I'm 18 years ---> ผิดเลยครับ
หรือ     I'm 18 old  ----> อันนี้ผิดแบบน่ากลัวมากครับ

ที่ถูกคือ I'm 18 years old. หรือ  He is 20 years old.  หรือ They are 17 years old. ได้เช่นกัน

แกรมม่าในเรื่องนี้ เราเรียกว่า Expression of Measurement  สำนวนการพูดถึงมาตราวัด ระยะทางและ สัดส่วนนั่นเอง

เรื่องที่น่าแปลก ก็คือ สำนวนประเภทนี้ จะนำเอา adjective (คำคุณศัพท์) มาไว้ข้างหลัง noun

เช่น  30 years old  (Years เป็นคำนาม เมื่อมีมากกว่า 1 จึงต้องเติม -s แล้วนำ old ซึ่งเป็น adjective มาต่อหลังขยายคำนาม years ว่า แก่)

หรือ  three feet tall (สูง 3 ฟุต)  --> สังเกตให้ดีว่า feet นี้เป็น plural ของ foot ที่เป็นหน่วยมาตรวัดความยาว แล้วนำ tall มาไว้ข้างหลัง

      five kilometres long ระยะทางไกลประมาณ 5 กิโลเมตร
      ten meters high        ความสูง 10 เมตร
      twenty feet deep      ลึก 20 ฟุต

เวลาแปล ก็แปลตัว adjective ด้านหลังก่อน แล้วตามด้วยตัวเลข แล้วค่อยหน่วยวัด

แต่ แต่ แต่  แต่  เพื่อนครูโอ๊ตถามต่ออีกว่า ......เคยเห็น คนอื่นให้ใช้  18 year old แบบนี้นะค่ะ

ครูโอ๊ตขอบอกว่า จริงๆแล้ว มันอาจจะอยู่ในรูปเอกพจน์ โดยที่ไม่ต้องเติม -s ได้เหมือนกัน ถ้า (ฟังดีๆนะ ตรงนี้สำคัญครับ)

1. ก่อนที่พูดถึงนั้น ทำหน้าที่เป็น adjective ที่ขยายคำนามตัวใดตัวหนึ่ง และ
 2. เวลาเขียนต้องมีเครื่องหมาย hyphen (-) มาเชื่อมก้อนนันให้อยู่ติดกันเป็นก้อนเดียวกันเสมอ

ดังนั้น รูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง คือ a 18-year-old boy  ถ้าเด็กๆสังเกตดีๆ ครูโอ๊ตมีอะไรเพิ่มเติมมาครับ?

เฉลย: a ........ boy ใช่ไหม และ ครูโอ๊ต เติม เครื่องหมาย (- hyphen) เข้าไปให้คำนามนั้นอยู่เป็นกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น 18-year-old จึงทำหน้าที่ ในที่นี้เป็น คำคุณศัพท์ หรือ adjective ขยาย คำนาม คือ boy
เมื่อ 18-year-old นี้ ทำหน้าที่เป็น adjective และ adjective ไม่เคยมีอยู่ในรูปพหูพจน์ เราจึงตัด -s ออกไป เหลือเฉพาะ คำนามเอกพจน์ เท่านั้น

ตัวอย่าง อื่นๆ เช่น

a three-foot-tall tree.  = A tree is three feet tall.  หรือ ต้นไม้สูง 10 ฟุต นั่นเอง (สังเกตว่า พอมันอยู่เป็นก้อน ทำหน้าที่เป็น  adjective แล้ว เราต้องตบ feet ให้กลับมาเป็น foot เหมือนเดิมครับ)

สรุปง่ายๆ คือ สำนวนที่บอกระยะทาง มาตราวัดระยะ มาตราวัดความยาว ที่ทำหน้าที่เป็น คำนาม
เติม -s ได้ เมื่อมีมากกว่า 1 หน่วย และนำ คำ adjective ที่เป็นการบ่งบอกถึงระยะ และสัดส่วนนั้นมาไว้ข้างหลัง

แต่ถ้า เราต้องการทำให้เป็น adjective ต้องเติมเครื่องหมาย hyphen (-) คั่นไว้ทุกคำ เพื่อให้รู้ว่า มันเป็นก้อนเดียวกัน ทำหน้าที่ขยายคำนามที่ต่อท้าย ก้อน นั้นอยู่

หวังว่า เด็กๆ จะนำไปใช้ได้ถูกต้องนะครับ

จาก ครุโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา







วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

CEN 2105 การวิเคราะห์หนังสือแบบเรียน (อ.พันพิน)


เอกสารประกอบการเรียนวิชา
CEN 2105 Analysis of English Textbooks and Supplementary Reading Books

บทที่ 1
หนังสือที่ใช้ในโรงเรียน




จากหลักสูตรที่เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2456 จนถึงหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
หน่วยงานที่ทำหน้าที่เตรียมการใช้หลักสูตรแต่ละครั้ง คือ _______________

กระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้สำหนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) มีหน้าที่เตรียมการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบหลักสูตร (Curriculum Materials) ให้พร้อม เพื่อให้โรงเรียนทุกแห่งสามารถจัดการเรียนการสอนไปตาม เนื้อหาที่ หลักสูตรกำหนดไว้ และทำให้การสอนเป็นไปในแนวทางเดียวกันทุกโรงเรียน

วัสดุอุปกรณ์หลักสูตร (Curriculum Materials) เหล่านี้ ได้แก่
1.       รายละเอียดของหลักสูตร
2.       แนวทางการใช้หลักสูตร
3.       หนังสือที่มีเนื้อหาตรงตามคำอธิบายในหลักสูตร (Course Description)      
4.       คู่มือครูประกอบการใช้หนังสือเรียนแต่ละวิชา (Teacher Manual)
5.       อุปกรณ์การสอนของแต่ละวิชา (Course Materials)

หน้าที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับหนังสือที่ใช้ในโรงเรียน ได้แก่
1.       จัดทำหนังสือเรียนสำหรับทุกวิชา
2.       ตรวจอนุญาตหนังสือที่เอกชนจัดทำทุกเล่ม และทุกครั้งที่พิมพ์
3.       ออกคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดหนังสือเรียนสำหรับเลือกใช้
ในโรงเรียนทุกฉบับ เป็นปีๆไป
หนังสือที่ใช้ในโรงเรียน

หนังสือที่ใช้ในโรงเรียนแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบ่งตามลักษณะ และแบ่งตามวิธีการใช้

หนังสือที่ใช้ในโรงเรียนที่แบ่งตามลักษณะ  มี 5 ประเภท คือ

1.       หนังสือเรียน (Textbooks)
2.       แบบฝึกหัด (Workbooks, Exercises)
3.       หนังสือเสริมสร้างประสบการณ์ (Experience-Enhancement Book)
4.       คู่มือครู (Teacher’s Manuals)
5.       คู่มือการเรียนการสอนและใบงาน
 (Instructional Manuals and Worksheets)

หนังสือเรียน (TEXTBOOKS)

         หนังสือเรียนเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอน  เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้ มีผู้ใช้คำเรียกที่แตกต่าง
กัน เช่น แบบเรียน หนังสือเรียน ตำราเรียน เป็นต้น

จินตนา ใบกาซูยี ได้อธิบายว่า หนังสือเรียน (Textbooks) คือ หนังสือประเภทหนึ่งที่
รวบรวมวิชาความรู้ในหมวดวิชาใดวิชาหนึ่ง  ซึ่งมีเนื้อเรื่องตรงตามหลักสูตรที่
กำหนดไว้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

ประภาศรี สีหอำไพ ได้ให้ความเห็นว่า หนังสือแบบเรียน (Textbooks) คือ หนังสือที่
บรรจุเนื้อหาตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการออกใบอนุญาตให้เป็นหนังสือ
ที่ใช้ในระดับต่างๆหรือเป็นหนังสือเรียนที่ใช้ในระดับต่างๆหรือเป็นหนังสือที่
กระทรวงศึกษาธิการสั่งสอน

ฉวีวรรณ บุณยะกาจญจน์ อธิบายว่า หนังสือแบบเรียน คือ หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการบังคับไว้ตามประกาศหรือคำสั่ง ของกระทรวงศึกษา
ธิการ ซึ่งจะกำหนดออกมาทุกปีการศึกษา

สรุปได้ว่า หนังสือแบบเรียน คือ








ความสำคัญของหนังสือแบบเรียน

            หนังสือแบบเรียนมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเรียนการสอน เพราะ
จะช่วยเสริมบทเรียนของครู และช่วยให้นักเรียน เรียนได้ดีขึ้น

ธนาศักดิ์ วชิรปรัชาพงศ์  ได้กล่าวถึงความสำคัญของหนังสือแบบเรียนไว้ว่า
1.       ช่วยจัดลำดับและรวบรวมเนื้อหาวิชาในการเรียนการสอน
2.       เป็นอุปกรณ์ที่มีเนื้อหาตามแนวหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้
ได้ครบถ้วนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.       เป็นคู่มือแนะนำการทำกิจกรรมเพิ่มเติม และช่วยวางโครงการทำงานของ
นักเรียนในห้องเรียน
4.       ช่วยให้ครูวางจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
5.       กระตุ้นให้นักเรียนคิดหาเหตุผล วิจารณ์และเปรียบเทียบ
6.       ช่วยแนะแนวทางให้นักเรียนได้ลองทฤษฏีที่เรียนมาแล้วว่าเป็นความจริง
หรือไม่
7.       ช่วยส่งเสริมให้มีแหล่งความรู้ ช่วยสรุปให้ง่ายพอเหมาะกับวัยและความสนใจ
ของนักเรียน

โกชัย สาริกบุตร และ สุมพร สาริกบุตร ให้ความเห็นว่า หนังสือเรียนที่ดีนั้น ควรมีความสำคัญในแง่ที่สามารถนำไปใช้เป็นแหล่ง หรือ คู่มือในเรื่องต่างๆดังนี้

1.       เป็นแหล่งข้อมูลที่จะทำให้เนื้อเรื่องและคำตอบในปัญหาต่างๆอย่างมีขอบเขต
ในวิชานั้นๆ
2.เป็นแหล่งสำหรับตรวจสอบผลการทดลอง กฎเกณฑ์ หรือทฤษฎีต่างๆว่า ตรงกับการทดลองจริงหรือตรงกับแหล่งอื่นหรือไม่
3.       เป็นแหล่งกิจกรรม เป็นคู่มือแนะแนวให้เกิดการศึกษาค้นคว้า
4.เป็นเครื่องมือที่กระทัดรัด ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างมีระบบ และจะพัฒนาไปเรื่อยๆตามลำดับ
5.เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้นักวิชาการเกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์หนังสือ อื่นออกมาประกอบหนังสือเรียนเล่มนั้น

อัมพร แก้วสุวรรณ ได้กล่าวถึงความสำคัญของหนังสือเรียนไว้คล้ายกัน สรุปได้คือ

1.       ช่วยให้เกิดการฝึกทักษะ ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน
2.เป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความคิดและกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ อยากศึกษาต่อไป
3.       เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้แก่ครู
4.       เป็นเครื่องช่วยให้นักเรียนและครูได้ประเมินผลการเรียนการสอน


จากความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ สรุปได้ว่า

หนังสือเรียนมีบทบาทและความสำคัญในการช่วยให้การจัดระเบียบการเรียนการสอน ซึ่งจะช่วยผ่อนแรงครูและช่วยปรับปรุงการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพดี ยิ่งขึ้น ช่วยนักเรียน ในการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ช่วยส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นคู่มือการเรียนที่สำคัญของนักเรียน นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป้นแหล่งข้อมูล
เพื่อใช้ในการประกอบการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงได้อีกด้วย

ประโยชน์ของหนังสือเรียน

        นักการศึกษาหลายๆท่านได้กล่าวถึง ประโยชน์ของหนังสือเรียน ไว้ดังนี้
ก่อ สวัสดิพาณิชย์ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของหนังสือเรียน ไว้ดังนี้

1. หนังสือเรียน เป็นแหล่งข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริงในด้านเนื้อกาที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้อ้างอิงในการค้นคว้าหาความจริงในแต่ละเรื่องได้
2.  หนังสือเรียนเป็นอุปกรณ์การสอนที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการอ่านของ
นักเรียน เพราะหนังสือเรียนเป็นสื่อการสอนที่ครูต้องใช้ให้นักเรียนอ่าน      ประกอบการเรียนในแต่ละวิชา
3.  หนังสือเรียนเป็นคู่มืของนักเรียนที่ช่วยให้ความรู้เพิ่มเติมจากการเรียนการ
สอนของครูในห้องเรียน
4. หนังสือเรียนทำให้เกิดความคิดรวบยอดและพัฒนาความคิดของนักเรียนให้  กว้างขึ้น โดยเฉพาะการใช้หนังสือเรียนหลายๆเล่มในการเรียน
5.  เป็นแนวทางความคิด ทัศนคติ ค่านิยม และพัฒนาการด้านต่างๆของนร.
6. ช่วยให้การจัดลำดับหัวข้อและการกำหนดขอบเขตของเนื้อหาในการเรียน    การสอนเป็นไปอย่างเหมาะสม
7.  ทำให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล
8.  อำนวยความสะดวกแก่ครูในการจัดการเรียนการสอน
บันลือ พฤกษะวัน ได้ให้ความเห็นว่า หนังสือเรียนสามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ ครูและนักเรียนหลายประการ โดยสรุปเป็น 2 หัวข้อใหญ่ดังนี้
1.        อำนวยประโยชน์แก่ครูผู้สอน ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่ครูผู้สอน
a.        ใช้ตรวจสอบ เนื้อหาที่หลักสูตรกำหนด
b.ช่วยให้ครูเข้าใจถึงเนื้อหาและขอบเขตแห่งเนื้อหา สาระที่จำเป็น อันเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน ทำให้ครูวางจุดประสงค์เฉพาะบทได้ ดีขึ้น
c.        ช่วยกำหนดการจัดประสบการณ์ให้นักเรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
d.       ใช้เป็นแนวทางการอ้างอิงและวางขั้นตอนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

2.       อำนวยประโยชน์แก่ผู้เรียน โดยนักเรียนสามารถใช้หนังสือเรียน
a.        ในการค้นคว้า เพื่อขยายประสบการณ์
b.       สามารเตียมการเรียนล่วงหน้า
c.        ใช้ในการศึกษาส่วนบุคคล
d.       ใช้ในการเป็นคู่มือนักเรียน

James Brown, Richard Lewis, and Fred Hareloread ได้กล่าวถึงประโยชน์ของ หนังสือเรียนไว้ดังนี้

1.หนังสือเรียนเป็นสื่อการสอนที่ประหยัด เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อการสอน      ประเภทอื่นแล้ว หนังสือเรียนมีราคาถูกกว่ามากและมีระยะเวลาในการใช้   นานกว่าสื่อประเภทอื่นๆด้วย
2.หนังสือเรียนช่วยส่งเสริมการศึกษารายบุคคล นักเรียนสามารถใช้หนังสือ  เรียนในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและสามารถเรียนซ้ำได้อีกตามที่ต้องการ  นอกจากนี้ หนังสือเรียนยังได้กำหนดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆให้นักเรียน  เลือกปฎิบัติตามความต้องการได้ด้วย
3.หนังสือเรียนช่วยจัดระเบียบการเรียนการสอนในห้องเรียน  ช่วยให้นักเรียน  ได้เรียนรู้วิธีศึกษา  ช่วยแนะนำกิจกรรมตลอดจแหล่งข้อมูลต่างๆ   ช่วยส่งเสริมประสบการณ์การอ่าน นอกจากนี้ ยังช่วยเสนอเนื้อหา ความคิดรวบยอดใหม่ๆ
4.หนังสือเรียนช่วยนักเรียนในการส่งเสริมการอ่าน  การศึกษาหาความรู้ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด และมีการแนะนำหนังสือ สำหรับอ่านเพิ่มเติมได้อีกด้วย
5.หนังสือเรียนช่วยพัฒนาทักษะในการสอนของครู คือ ช่วยแนะแนวทาง ในการสอน และช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน

(ไม่มีแหล่งที่มา) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของแบบเรียนไว้ดังนี้
1.       เป็นแหล่งที่ให้ความรู้ที่ถูกต้อง
2.       เป็นแหล่งวิชาการให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนั้น
3.       ช่วยเรียงเนื้อหาวิชาและเป็นมาตรฐานสำหรับครูในการเลือกเนื้อหาที่สอน
4.ช่วยประหยัดเวลา คือช่วยให้ครูทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเสียค่า  เวลาในการค้นคว้ามากนัก

Hasan Ansary and Esmat Babaii (2002) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการใช้
หนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษ ไว้ว่า
1.       A textbook is a framework which regulates and times the programs
2.       In the eyes of learners, no textbook means no purpose
3.       Without a textbook, learners think their learning is not taken seriously
4.       In many situations, a textbook can serve as a syllabus
5.       A textbook provides ready-made teaching texts and learning tasks
6.       A textbook is a cheap way of providing learning materials
7.       A learner without a textbook is out of focus and teacher-dependent, and perhaps most important of all,
8.       For novice teachers a textbook means security, guidance, and support.

ลักษณะของหนังสือเรียนที่ดี

ก่อ สวัสดิพาณิชย์  ได้ให้ความเห็นไว้ว่า หนังสือเรียนที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1.มีความถูกต้องและเที่ยงตรงในเรื่องของเนื้อหาและข้อเท็จจริง สามารถนำไป  ใช้อ้างอิงในการค้นคว้าหาความจริงของแต่ละคนได้
2.มีความยากง่ายในการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ถ้อยคำที่ใช้ต้องเป็น ถ้อยคำที่เด็กใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นประโยคสั้นๆ
3.การจัดรูปของหนังสือเรียนจะต้องแบ่งออกเป็นบท แต่ละบทแบ่งออกเป็นตอน  แต่ละตอนให้มีความยาวเหมาะสมแก่การสอนของครู การออกแบบปกนอก จะ ต้องมีความสวยงาม ส่วนแกในจะต้องบอกเรื่องราวที่สำคัญให้ครบถ้วน  สารบัญและคำนำต้องจัดวางให้ถูกที่ การจัดหน้าหนังสือต้องคำนึงถึงความ  สะดวกในการอ่าน และใช้ตัวพิมพ์ที่เหมาะสมและอ่านได้ชัดเจน
4.มีภาพประกอบที่ชัดเจนและสวยงาม ถ้าเป็นภาพสีที่เหมือนจริงจะดีมาก  และควรจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีขนาดพอดีและมีเฉพาะเท่าที่จำเป็น
5.       การเข้ารูปเล่มควรมั่นคงแข็งแรง กระดาษที่ใช้ควรเป็นกระดาษที่ดี
6.       มีราคาพอสมควรไม่แพงเกินไป
7.       ให้ความรู้ที่ทันสมัย

รัญจวน อินทรกำแหง ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของตำราวิชาการไว้ดังนี้
1.เนื้อหาวิชาและสาระของหนังสือ มีสาระที่เป็นแก่นสารที่แน่นอน มีความ   สมบูรณ์และสมดุลเหมาะสำหรับผู้อ่านประเภทใด เช่น สำหรับบุคคลทั่วไป  นักศึกษา ครูอาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ
2.วิธีเสนอเนื้อหาชวนให้น่าอ่าน เข้าใจง่าย สำนวนสละสลวย ความยากง่ายเหมาะสมกับผู้อ่านในระดับที่ผู้เขียนตั้งใจให้อ่าน
3.การวางเค้าโครงลำดับเรื่อง เรียงตามลำดับความยากง่าย ที่ชวนให้เกิดความเข้าใจและความคิดต่อเนื่องกัน เป็นเรื่องดี ไม่ซับซ้อน จนจับ ใจความไม่ได้
4.คุณวุฒิและประสบการณืของผู้เขียนเป็นที่เชื่อถือได้ ว่ามีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้นจริง
5.ส่วนประกอบต่างๆของหนังสือ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ทำให้เข้าใจสาระ  ของเรื่องได้รวดเร็ว ค้นคว้าเรื่องที่ต้องการจากหนังสือได้รวดเร็ว และกว้างขวางขึ้น ส่วนประกอบดังกล่าวได้แก่ คำนำ สารบัญ ดัชนี บรรณานุกรม อภิธานศัพท์ เป็นต้น
6.ลักษณะรูปเล่มและคุณภาพการพิมพ์ หมายถึง ความถูกต้องและชัดเจน ในการพิมพ์ ทั้งตัวหนังสือ ภาพประกอบ

ประภาศรี สีหอำไพ ได้กล่าวถึงลักษณะของหนังสือเรียนที่ดีว่า
1.       มีเนื้อหาตรงตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2.       มีคู่มือครูที่มีรายละเอียดไว้ชัดเจนและมีความยากง่ายเหมาะกับระดับชั้น
3.       มีภาพและมีกิจกรรมการเรียนการสอน
4.ผู้เรียบเรียงควรรู้จักจิตวิทยาทั่วไป จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้  เพื่อให้ตรงตามระดับชั้นและระดับวัย
5.การจัดทำรูปเล่ม ควรมีความคงทน มีตัวอักษรที่มีขนาดชัดเจน มีตัวสะกดการันต์และการเว้นวรรคที่ถูกต้อง
6.มีการวัดและประเมินผลกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ หรือจัดทำคู่มือ ประเมินผล หรือแบบฝึกหัดตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้น

Khalid Mahmood  (2011: 174)  ได้เขียนบทความถึงลักษณะของหนังสือเรียนที่ดีไว้ ใน Journal of Research and Reflections in Education (December 2011) โดยมีลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งหมด 40 หัวข้อ ซึ่งสามารถสรุปเป็น 8 หัวข้อใหญ่คือ
1.       Conformity to curriculum policy and scope หนังสือแบบเรียนนั้นต้องสอดคล้องกับนโยบายหลักสูตรและขอบเขตของวิชา
           ทั้งในเรื่องของเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์หลักของวิชานั้น
2.Vocabulary and Format ระดับการใช้คำศัพท์ และรูปแบบการจัดวางเนื้อหา ของหนังสือ การจัดรูปหน้า รูปเล่ม ภาพประกอบที่สวยงาม คุณภาพการพิมพ์ ขนาดตัวอักษร ความง่ายและความชัดเจนในการอ่านเนื้อหาต้องมีคุณภาพ
3.Horizontal and vertical alignment od the text หนังสือแบบเรียนที่ดีควร  มีการเปรียบเทียบหนังสือนั้นทั้งแนวนอน (เปรียบเทียบกับหนังสือจากสำนัก  พิมพ์อื่น ที่เขียนในหัวข้อ หรือ ระดับชั้นเดียวกัน) และแนวตั้ง ( เปรียบเทียบ  ความลึกของเนื้อหาที่เขียน ว่าเหมาะสมกับระดับชั้นหรือไม่ และมีเนื้อหาที่  ยากขึ้นเป็นลำดับหรือไม่)  รวมทั้งดูรูปแบบการประเมินความรู้และแบบ ฝึกหัดท้ายบทเรียน ว่าสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนหรือไม่ ความเรียบเรียง
         เนื้อหาจาก ง่ายไปยาก หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างบทเรียนภายในหนังสือ
         และการจัดเรียงลำดับเนื้อหาและการนำเสนอ มีขั้นตอนที่เหมาะสม เข้าใจง่าย
4.Acceptability ความสามรถในการยอมรับ หนังสือแบบเรียนที่ดีควรคำนึงถึง  สภาพแวดล้อมของผู้เรียน และความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่หลากหลายด้วย  การใช้ตัวอย่างประกอบการอธิบายที่สอดคล้องกับระดับชั้นที่ผู้เรียนสามารถ  เข้าใจได้ง่ายในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง การเข้ารูปเล่ม ความน่าเชื่อถือของผู้เขียน และการตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ เป็นต้น
5.Text Reliability เนื้อหามีความถูกต้อง ทั้งข้อมูลและข้อเท็จจริงและเป็นข้อมูล ที่มาจากแหล่งที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และเป้นข้อมูลที่ทันสมัย
6.Cognitive Development and Creative thinking เนื้อหาสาระในหนังสือ ควร เน้นที่พัฒนาการทางสติปัญญาและส่งเสริมกระบวนการความคิดเชิง สร้างสรรค์
7.Learning and Assessment การเรียนรู้และการประเมินผลการเรียน ให้สอด  คล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งใว้ในแต่ละบท เพื่อส่งเสริมการใช้เนื้อหาที่เรียนใน  การนำไปประยุกต์ใช้
8.Bias free หนังสือแบบเรียนที่ดี ควรมีความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ใช้ถ้อยคำที่แสดงถึงความเคารพในความแตกต่าง และให้เกียรติเพศสตรี ชนกลุ่มน้อยและผู้ด้อยโอกาส





ตัวอย่าง หนังสือเรียน ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ที่ได้รับการอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ

บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด (2557)

                           





บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด (2557)
Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:1002139.jpgDescription: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:1001346.jpgDescription: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:1002147.jpg



บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด (2557)
Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:1003088.jpgDescription: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:1000775.jpg
  Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:1001938.jpg          

แบบฝึกหัด (WORKBOOKS OR EXERCISE BOOKS)

แบบฝึกหัด หมายถึง หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้สำหรับช่วยเสริม ให้นักเรียนเกิดทักษะในวิชาหนึ่งๆ อาจมีลักษณะเป็นรูปเล่ม เป็นสมุดฉีก หรือเป็นบัตรงานก็ได้ แบบฝึกหัดที่ใช้ในโรงเรียนต้องมีในคำสั่งของกระทรวงศึกษา-ธิการ ว่าด้วยการกำหนดหนังสือเรียนในปีนั้น

แบบฝึกหัดเสริมทักษะ ในความหมายของเรวดี หน่อนารถ (2552) อธิบายว่า แบบฝึก คือ สื่อที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีไว้ให้นักเรียนฝึกฝน และเพิ่มทักษะภายหลังที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาจากแบบเรียนปกติแล้ว แบบฝึกจะทำให้ผู้เรียน มีความเข้าใจ มีความรู้ความสามารถและทักษะในสิ่งที่เรียน มากขึ้น ตัวอย่างแบบฝึกหัดที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในโรงเรียนตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2511 โดยสวก. ปี พ.ศ. 2557
Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:1002335.jpgDescription: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:1003513.jpgDescription: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:1003714.jpg











หนังสือเสริมประสบการณ์ (EXPERIENCE-ENHANCEMENT BOOKS)

หนังสือเสริมประสบการณ์ เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ในโรง เรียน เพื่อให้นักเรียนค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองตามความเหมาะสมของตน  เช่น ตามความเหมาะสมของวัย หรือความสามารถในการอ่านของแต่ละคน หนังสือ ประเภทนี้มีทั้งหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการจัดขึ้น และหนังสือที่เอกชนพิมพ์จัด
จำหน่าย หนังสือเสริมประสบการณ์นี้มิได้กำหนกเป็นหนังสือเรียน ดังนั้นหัวหน้า สถานศึกษา  สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

ประโยชน์ของหนังสือเสริมประสบการณ์
1.       เพื่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องซื้อไว้ประจำตัว
2.       เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความซาบซึ้งในคุณค่าของภาษา
3.       เพื่อสร้างเสริมทักษะและนิสัยรักการอ่าน
4.       เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจที่นอกเหนือจากหลักสูตร ทำให้เกิดความรู้กว้างขวาง

ลักษณะของหนังสือเสริมประสบการณ์ที่ดี
1.สามารถตอบสนองความต้องการของนักเรียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการอ่าน ที่ต่างกัน เช่น เพื่อขยายประสบการณ์ในการอ่าน อ่านเพื่อการผ่อนคลาย หรือ เพื่อแสวงหาความรู้
2.สามารถตอบสนองความสนใจของเด็กได้ตามวัย เพราะความแตกต่างของวัย  ทำให้ความสนใจและรสนิยมในการอ่านแตกต่างกัน เช่น วัยเด็กต้องการอ่าน เพื่อนความสนุกสนาน ในขณะที่วัยผู้ใหญ่ต้องการสิ่งที่เป็นวิชาการมากขึ้น
3.ควรเขียนให้เหมาะสมกับระดับของภาษาและประสบการณ์ตามวัย เนื่องจาก เด็กต้องอ่านหนังสือนอกเวลาด้วยตนเอง ภาษาที่ใช้จึงควรเป็นภาษาที่ง่าย นักเรียนสามารถเข้าใจได้ด้วยตนเอง ถ้ามีเรื่องหรือเนื้อหาที่อยู่นอกเหนือระดับ ความเข้าใจของเด็ก หนังสือนั้นควรมีคำอธิบายประกอบ นิกจากนี้ เนื้อเรื่อง ควรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ของเด็ก เพื่อให้เด็กเข้าใจ
ได้เรื่องได้ตลอด ถ้าเนื้อเรื่องยากเกินไป เด็กอาจนึกภาพไม่ออก ส่งผลให้ความ สนใจของเด็กลดน้อยลง เนื้อเรื่องที่ดีควรเป็นนิทานหรือเรื่องใกล้ตัว เพื่อให้เด็ก ได้สนใจติดตามอ่านจนจบเรื่อง
4.       ควรมีแง่คิดในด้านของคุณธรรมด้วย เพราะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ
5.เนื้อเรื่องควรถูกต้องตามความเป็นจริง มีสิ่งเร้าใจให้เด็กอยากอ่านเพิ่มเติม กระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.หากมีการยกตัวอย่าง ตัวอย่างนั้นควรมีเหตุผลที่เชื่อถือได้ เข้าใจได้ง่าย ช่วยให้  เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดี
7.       มีบทสรุปที่ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหา
8.       ผู้แต่งควรมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียน
9.การจัดรูปเล่ม และราคาขาย ควรมีความน่าสนใจ เช่น สี ตัวหนังสือที่มีขนาดที่ พอดีไม่เล็ก ไม่ใหญ่จนเกินไป ระยยะห่างระหว่างบรรทัดมีความเหมาะสม
10.ควรปรับปรุงแก้ไขหนังสือให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อความน่าสนใจ

ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับหนังสือเสริมประสบการณ์
1.เนื่องจากหนังสือเสริมประสบการณ์ช่วยเสริมเนื้อหาที่สำคัญบางส่วน ดังนั้น เนื้อหาในเรื่องจึงควรสอดคล้องตรงตามหลักสูตรหลักที่เรียน
2.หนังสือเสริมประสบการณ์มีข้อจำกัดในด้านความทันสมัยของข้อมูล เมื่อเทียบ กับหนังสือส่งเสริมการอ่าน จำพวกวารสาร นิตยสาร จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ใน เนื้อหาของหนังสือให้ทันสมัยขึ้นได้
3.ในการเปรียบเทียบกับหนังสือเรียน หนังสือเรียนถูกกำหนดให้ใช้ในการสอน ทั้วประเทศ ดังนั้นเนื้อหาจึงจำเป้นต้องมีลักษณะเป็นกลาง เพื่อให้สอดคล้อง กับทุกสภาพท้องถิ่น แต่หนังสือเสริมประสบการณ์ ครูสามารถเลือกให้เหมาะ สมกับสภาพท้องถิ่นที่อยู่ได้ เพื่อทำให้เด็กเข้าใจเรื่องราวและเหตุการณ์ในท้อง ถิ่นของตนเองได้ดีขึ้น
4.หนังสือเสริมประสบการณ์ เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กสามารถเลือกอ่านในสิ่งที่ ตนเองสนใจได้นอกเหนือจากบทเรียน และสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
ประเภทของหนังสือเสริมประสบการณ์
1.  หนังสืออ่านนอกเวลา (Outside Reading Books)
2.  หนังสืออ่านเพิ่มเติม (Supplementary Books)
3.  หนังสืออ้างอิง (Reference Books)
4.  หนังสือส่งเสริมการอ่าน (Enrichment Reading Books)

1. หนังสืออ่านนอกเวลา (Outside Reading Books)

หนังสืออ่านนอกเวลา คือ หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้นักเรียน อ่านนอกเวลา เพื่อประกอบการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง นอกเหนือจากหนังสือเรียน
โรงเรียนจะเลือกหนังสืออ่านนอกเวลาจากรายชื่อหนังสืออ่านนอกเวลาในคำสั่ง กระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศเป็นรายปี ทั้งนี้อาจมีการเพิ่มเติมหรือตัดออกได้

ตัวอย่างหนังสืออ่านนอกเวลา
หนังสืออ่านกวีนิพนธ์ เรื่องราชาธิราช ตอนศึกพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง จดหมายจางวางหร่ำ ของน.ม.ส., เวนิชวานิส พระราชนิพนธ์ร. 6, สามชาย ของ ดอกไม้สด, นิกกับพิม ของ ว. ประมวลมารค, แวววัน ของ โบตั๋น, ฉากหนึ่งในชีวิต ของ บุญเหลือ, สวนสัตว์, เรื่องของน้ำพุ ของ สุวรรณี สุคนธา, เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ของ ทิพย์วาณี สนิทวงศ์, แมงมุมเพื่อนรัก (แปล)

สำหรับหนังสืออ่านนอกเวลาภาษาอังกฤษ นั้น เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นหรือถูกเรียบ  เรียงใหม่จากต้นฉบับเดิม แต่ใช้ภาษาที่ง่าย กระชับตามความเหมาะสมของวัยและ
ระดับ คำศัพท์ที่ใช้เป็นคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  โดยมีหัวข้อทางไวยกรณ์ที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนจนเกินไป ผู้อ่านจะได้คลังคำศัพท์   ประมาณ 3,000 คำ ซึ่งเพียงพอต่อการสื่อสารขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่าง หนังสืออ่านนอกเวลา เช่น A Little Princes (เจ้าหญิงน้อยผู้ทระนง),
Hansel and Gretel (ฮันเซล&เกรเทล ผจญแม่มดบ้านขนมปัง) หรือ Sherlock Holmes
2. หนังสืออ่านเพิ่มเติม (Supplementary Books)

หนังสืออ่านเพิ่มเติม เป็นหนังสือสำหรับค้นคว้าเพิ่มเติมต่อเนื่องจากเนื้อหาในหนัง สือเรียน มีเนื้อหาหรือให้รายละเอียดของเรื่องที่นอกเหนือจากในหนังสือ เพื่อช่วยให้ นักเรียนเข้าใจเรื่องนั้นๆได้ดียิ่งขึ้น

ณัฐธิดา รัตนสุภา (http://www.tungsong.com/abstract/abstract5/1.htm) ได้ให้ความหมายของ หนังสืออ่านเพิ่มเติมว่า เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับ หลักสูตร โดยมีเนื้อหาเจาะลึกในความรู้เฉพาะเรื่อง เฉพาะวิชา และมีการเพิ่มเติมให้ กว้างขวางลึกซึ้งมากขึ้นกว่าเดิม ใช้ประกอบการเรียนการสอนสำหรับให้นักเรียนอ่าน เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและเลือกอ่านได้ตามความสนใจ ตามสติปัญญาของตน โดยมีการยกตัวอย่างให้ผู้เรียนรู้ได้เห็นชัดเจน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจลึกซึ้งได้ ตามลักษณะแห่งวัย และช่วยเน้นประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้ดี

ตัวอย่างหนังสืออ่านเพิ่มเติม
หมวดสังคมศึกษา
 นโปเลียน พระพุทธรูปในเมืองไทย การปกครองระบอบประชาธิปไตย การสงวนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ความรู้ทั่วไปเรื่องภาษีอากร
หมวดพลานามัย   เรื่องของฟัน
หมวดวิชาภาษาอังกฤษนั้น ครูสอนภาษาอังกฤษหลายท่านเลือกที่จะจัดทำหนังสือ อ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาอังกฤษขึ้นเอง เพื่อใช้ในการประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เช่น หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุด Visiting Pitsanulok เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้า ใจและสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษแนะนำ จังหวัดตนเองได้ ในขณะเดียวกัน ครูภาษาอังกฤษสามารถเลือกใช้ หนังสืออ่านเพิ่ม เติมภาษาอังกฤษแบบสำเร็จรูปที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ของเนื้อหาและความสนใจของเด็ก
รูปแบบของหนังสืออ่านเพิ่มเติม มีได้ทั้งนิทาน ความเรียง นิยายหรือคำประพันธ์
3. หนังสืออ้างอิง (Reference Books)

หนังสืออ้างอิง หรือหนังสืออุเทศ หมายถึง
1.หนังสือที่ครูใช้ในการค้นคว้าเพิ่มเติม ประกอบการสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งของ วิชานั้นๆ โดยมีเนื้อหาที่ถูกต้องตามหลักฐานที่อ้างอิงและมีบรรณานุกรมด้วย
2.หนังสือ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม ฯลฯ ซึ่งใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อ  ตรวจความถูกต้องของเนื้อหาแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ เนื้อหาต่างๆ มิได้เรียบเรียงขึ้น เพื่อให้อ่านเฉพาะเรื่องอย่างต่อเนื่องเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น
3.       หนังสือทางวิชาการที่ใช้ได้เฉพาะในห้องสมุดเท่านั้น และห้ามยืมออก

ในเวปไซด์ www.elearning.msu.ac.th ของมหาวิทยาลัยมหาสารคราม ได้ให้  ความหมายของหนังสืออ้างอิงว่า คือ หนังสือที่ให้เรื่องราว ข้อเท็จจริงแก่ผู้ใช้อย่าง รวดเร็วและสะดวกในการค้นหา เพราะมีการเรียงลำดับอย่างเป็นระบบและมักจะมี  เครื่องช่วยค้นที่ดี หนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่ใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพียงตอนใด ตอนหนึ่ง มิใช่เป็นหนังสือที่อ่านตลอดทั้งเล่ม

ตัวอย่างประเภทหนังสืออ้างอิง
พจนานุกรม (Dictionary) สารานุกรม (Encyclopedia) หนังสือรายปี (Yearbook)
อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionary) นามานุกรม (Directory) สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publication) รวมทั้งหนังสือธรรมดาทั่วไปที่จัดเป็น หนังสืออ้างอิง (Boderline Book) คือหนังสือวิชาการทั่วไปที่มีคุณค่าและเนื้อหา  เหมาะที่จะทำเป็นหนังสืออ้างอิงของไทย เช่น สาส์นสมเด็จประชุมพงศาวดาร พระราชประวัติ และราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น

หมวดภาษาไทย            ประวัติวรรณคดีไทย ศัพานุกรมรากคำ
หมวดวิชาฝรั่งเศษ                    พจนานุกรมศัพท์ภาษาฝรั่งเศษ
หมวดวิชาศิลปศึกษา      การออกแบบเบื้องต้น
4. หนังสือส่งเสริมการอ่าน (Enrichment Reading Books)

หนังสือส่งเสริมการอ่าน หมายถึง หนังสือวารสาร หรือเอกสารต่างๆที่ช่วยส่งเสริม ให้นักเรียนมีทักษะการอ่านเพิ่มขึ้น และมีนิสัยรักที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการ อ่าน ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสืออาจไม่เกี่ยวข้องกับหนังสือเรียนก็ได้ แต่อาจให้  ความรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจเป็นพิเศษ อ่านแล้วให้ความเพลิดเพลิน และเป็นประโยชน์ตามสมควรแก่วัยและระดับของผู้เรียน

ชนิสา คชาทอง ในปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน สำหรับ นักเรียน ชั้นประถามศึกษาปีที่ 5 เรื่อง “เที่ยวเมืองสงขลา” ได้ให้นิยามศัพท์เฉพาะว่า  หนังสือส่งเสริมการอ่าน หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นเพื่อมุ่งเน้นปลูกฝังให้เด็กมีนิสัย รักการอ่าน โดยเน้นความสนุกสนานเพลิดเพลิน อ่านเพื่อให้เกิดอรรถรสทางภาษา  เป็นการส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะการอ่าน มีลักษณะรูปเล่มสวยงาม สะดุดตา มีภาพ ประกอบ เร้าความสนใจ ภาษาที่ใช้อ่านง่ายเหมาะสมกับวัยของเด็ก มีเนื้อหาสาระที่  ส่งเสริมศีลธรรมอันดีงาม

Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:02RocketFestival.jpgจินตนา ใบกาซูยี (อ้างใน ชนิสา คชาทอง: 14, 2537:132) กล่าวว่า หนังสือส่งเสริม  การอ่าน (Children’s book) หมายถึง หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เน้นความ สนุกสนาน บันเทิงใจ หรืออ่านเพื่ออรรถรสทางภาษา ในการส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิด ทักษะในการอ่านและนิสัยรักการอ่าน แนวทางเขียนมุ่งไปให้เกิดความสนุก ความบันเทิงใจ เกิดความอยากอ่านจนเป็นนิสัย อาจเป็นหนังสือสารคดี นวนิยาย  นิทาน ฯลฯ ไม่ขัดต่อศีลธรรม ประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม ให้ความรู้ มีคติและมี  สาระประโยชน์

ตัวอย่าง: ชีวิตนี้มีค่า เงาะป่า นารายณ์สิบปาง พระนล
วิชาภาษาอังกฤษ เช่น Rocket Festival in Yangslsurat
             
คู่มือครู หรือ คู่มือการสอน (TEACHER MANUALS)

คู่มือครู หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยครูในการสอน ซึ่งเน้นถึงการแนะแนว  เกี่ยวกับวิธีการสอน การจัดกิจกรรม หนังสืออ้างอิง หรือแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมและ  ข้อมูลอื่นๆ ตลอดจนวิธีวัดผลและประเมินผลต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน  การสอน
Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:คู่มือครูFocus on Reading 2 ม1-ม3.JPGDescription: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:Screen Shot 2557-07-14 at 7.39.54 AM.png






คู่มือการเรียนการสอน (INSTRUCTIONAL MANUALS)
และใบงาน (WORKSHEETS)

คู่มือการเรียนการสอนและใบงาน เน้นสื่อการเรียนประเภทหนึ่งซึ่งจัดทำขึ้น เพื่อให้ทั้งครูและนักเรียนใช้ประกอบการเรียนการสอนร่วมกันในกลุ่มวิชาชีพเป็น ส่วนใหญ่ หัวหน้าสถานศึกษาควรพิจารณาจัดหามาให้เพียงพอกับความต้องการ  ไว้ในห้องสมุดหรือห้องปฏิบัติการโดยไม่จำเป็นต้องให้นักเรียนซื้อ เว้นแต่สถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาอละสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน  ที่เปิดสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ กำหนดให้ใช้คู่มือการเรียนการสอน  และใบงานเป็นหนังสือ จึงค่อยให้นักเรียนซื้อไว้ประจำตัว




Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:Screen Shot 2557-07-14 at 7.48.05 AM.pngใบงาน (Student Worksheets) เป็น เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทำแบบฝึก หัด และวัดความรู้ความเข้าใจของเด็ก โดยครูผู้สอนจะแจกให้ทำหลัง จบบทเรียน นอกจากนี้ใบงานยังสามารถเก็บสะสมเพื่อดูพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนได้ด้วย

นอกจากหนังสือที่ใช้ในโรงเรียนจะแบ่งตามลักษณะหนังสือเป็น 5 ประเภทแล้ว ประเภทของหนังสือที่ใช้ในโรงเรียนยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามวิธีการใช้  ได้อีกด้วย คือ หนังสือบังคับใช้ และ หนังสือไม่บังคับใช้

หนังสือบังคับใช้ คือ หนังสือและปบบฝึกหัด ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็น หนังสือที่ใช้ในโรงเรียนประจำปีการศึกษานั้น ถ้ามีแบบฝึกหัดที่เอกชนจัดทำขึ้นโดย
มิได้รับอนุญาตจากทางกระทรวง และไม่มีในรายชื่อคำสั่งเรื่องการกำหนดหนังสือ  เรียนประจำปี โรงเรียนจะสั่งให้นักเรียนซื้อไว้ประจำตัวไม่ได้ แต่อาจหาไว้ให้ยืม หรือ อ่านในห้องสมุด เพื่อใช้ค้นคว้าเพิ่มเติม

หนังสือไม่บังคับใช้ คือ หนังสือที่ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนของครูและนักเรียน  นักเรียนไม่จำเป็นต้องซื้อไว้ประจำตัว หนังสือประเภทนี้ จะเป็นหนังสือที่ทางกระ- ทรวงระบุไว้ว่าเป็นหนังสือ เสริมประสบการณ์ ได้แก่



แต่ห้องสมุดมิได้มีแต่เฉพาะหนังสือที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น แม้หนังสือบางเล่มที่  กระทรวงไม่ได้ประกาศอนุญาตไว้ แต่ครูเห็นว่าควรเป็นหนังสือเสริมประสบการณ์ได้ เพราะมีเรื่องและเนื้อหาที่เกี่ยวกับจุดประสงค์และคำอธิบายในหลักสูตร ก็สามารถใช้ ได้ สิง่สำคัญคือ โรงเรียนไม่สามารถบังคับให้นักเรียนจัดหามีไว้ประจำตัว แต่โรงเรียน สามารถจัดหาหนังสือดังกล่าวไว้ในห้องสมุด มุมหนังสือตามหมวดวิชา มุมหนังสือ ในห้องเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนอ่านเพิ่มเติม

การจัดพิมพ์หนังสือ

การจัดพิมพ์หนังสือที่ใช้ในโรงเรียน ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ตามคำสั่งของกระทรวงศึกษาธิ การ ว่าด้วยการกำหนดหนังสือให้นักเรียนใช้ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1.       หนังสือที่กระทรวงศึกษาจัดทำขึ้น
2.       หนังสือของภาคเอกชนจัดทำ

  หนังสือที่กระทรวงศึกษาจัดทำ       

กระทรวงศึกษาธิการ จะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมวิชาการ กรมอาชีวศึกษา ตั้งคณะผู้จัดทำหนังสือขึ้น โดยคัดเลือกจาก _____________________________
เพื่อประชุมปรึกษา และตกลงกันในรายละเอียด เกี่ยวกับการแต่งหนังสือให้สอด  คล้องกับ _______________________ และ __________________________
อย่างถูกต้องครบถ้วน แล้วให้ ____________________________ เป็นผู้จัดพิมพ์ และจำหน่าย

(องค์การค้าของคุรุสภา ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ ในปี พ.ศ. 2546 เป็น องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา     หรือ   องค์การค้าของ สกสค.  และยังคงดำรงวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องหนังสือ        สื่อการเรียนการสอน  วัสดุอุปกรณ์การศึกษา  และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาต่อไป )

ลักษณะของหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำ มีข้อสังเกตดังนี้

1.       มีชื่ออยู่ในกระทรวงศึกษาธิการว่าด้ยการกำหนดหนังสือเรียนปีนั้น
2.       มีประกาศกระทรวงฯ อนุญาตให้ใช้หนังสือในโรงเรียนและมีคำนำของ______
3.ที่หน้าปกมีรูป _________________ และมีข้อความว่า ______________________ พิมพ์ไว้ชัดเจน
4.       ไม่มีตราดุนรูปธรรมจักร แต่จะใช้ตราเสมาธรรมจักร ________________แทน
5.       ที่ปกหลังด้านนอก มีหมายเลข ________________ และมีเครื่องหมายของ


Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:Screen Shot 2557-07-14 at 10.34.41 AM.pngDescription: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:spd_20100807215605_b.jpg














ตัวอย่าง หนังสือเรียนภาษาอังกฤษชั้น ป.1 ที่จัดทำขึ้นจากกระทรวงศึกษาธิการ
หนังสือที่ภาคเอกชนทำ  

สำหรับหนังสือที่ใช้ในโรงเรียนที่ภาคเอกชนจัดทำ ผู้แต่งหนังสือหรือสำนักพิมพ์ ต้องส่งต้นฉบับให้__________________  ตรวจตามระเบียบก่อน

การตรวจหนังสือ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ

·    การตรวจขั้นต้น ซึ่งมุ่งเน้น ด้านโครงสร้างของหนังสือและหลักการ
·การตรวจขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นการตรวจ ความถูกต้องและเหมาะสมของ รายละเอียด ในหนังสือตามโครงสร้างที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วในการตรวจขั้นต้น

ลักษณะของหนังสือที่ภาคเอกชนจัดทำ มีข้อสังเกตดังนี้

1.       มีชื่ออยู่ในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดหนังสือเรียนประจำปี
2.มีใบอนุญาตของกระทรวงศึกษาธิการพิมพ์ไว้ให้เห็นชัดเจนว่า ให้ใช้เป็น หนังสือเรียนหรือ หนังสือประเภทใด สำหรับชั้นหรือระดับใด และตรงตามหลักสูตรใด
3.มีตรงดุนนูนรูปเสมาธรรมจักร หรือมีหมายเลขเรียงลำดับอยู่บนตราเสมา ธรรมจักร อยู่บนปกหน้าหรือ ปกหลังของหนังสือ
4.ระบุสำนักพิมพ์ หรือมีตราเครื่องหมายของสำนักพิมพ์ที่หน้าปก พร้อมทั้งมี ข้อความว่า “กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้” หรือ
“หนังสือนี้ผ่านการตรวจโดยคณะกรรมการตรวจซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่กระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งขึ้น และอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้”




ในการจัดพิมพ์หนังสือเรียน กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้ผู้จัดพิมพ์ ทำคู่มือครูควบคู่กับหนังสือเรียนเล่มนั้นๆด้วย เพื่อ ________________________


ความรับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือเรียน ________________________________
นอกจากการจัดพิมพ์  ______________________ ยังต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับ ปริมาณและ _________________  ของหนังสือด้วย คือ _____________________

ด้านปริมาณการจัดพิมพ์

นอกจากกระทรวงศึกษาธิการจะจัดทำหนังสือเองแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ __________
จัดพิมพ์ด้วย เพื่อ ____________________________________________________
โรงพิมพ์เอกชนโดยส่วนใหญ่มีเครื่องที่ทันสมัย มีกำลังการผลิตสูง สามารถผลิตหนัง สือได้มากและรวดเร็ว จึงเป็นการช่วยลดภาระในด้านปริมาณการผลิตของโรงพิมพ์  ที่กระทรวงศึกษาธิการให้จัดพิมพ์หนังสือ คือ ______________________     ลงได้

ด้านคุณภาพของหนังสือ

แม้กระทรวงศึกษาธิการจะเปิดโอหาสให้เอกชนจัดพิมพ์หนังสือเพื่อใช้ในโรงเรียนได้  แต่กระทรวงยังคงต้องควบคุมคุณภาพของหนังสือเรียน แม้ว่าจะเป็นหนังสือที่เคยขอ อนุญาตจัดพิมพ์แล้วก็ตาม ถ้าจัดพิมพ์ใหม่ก็ต้องส่งมาให้กระทรวงตรวจและให้ใบ อนุญาตกำกับทุกครั้งไป ต่อจากนั้นกระทรวงจึงมีประกาศรายชื่อของหนังสือที่  สำนักพิมพ์เอกชนแต่ละแห่งจัดพิมพ์และได้รับใบนุญาต ในแต่ละปีการศึกษา ลงใน  คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดหนังสือเรียนสำหรับใช้ในโรงเรียน ทุปปี

นอกจากกระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดพิมพ์หนังสือแล้ว กระทรวงยังมีผู้มีส่วนรับผิดชอบอีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ ____________________


Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:Screen Shot 2557-07-14 at 12.19.23 PM.png
แหล่งที่มา http://academic.obec.go.th/textbook/web/index.php





รายชื่อสำนักพิมพ์ที่ได้รับอนุญาตจากทางกระทรวงศึกษาธิการให้จัดพิมพ์หนังสือ เรียน แบบฝึกหัดและสื่อการเรียนรู้ รายวิชา เพิ่มเติม ปีการศึกษา 2557
Description: Macintosh HD:Users:apple:Desktop:Screen Shot 2557-07-14 at 12.18.58 PM.png
แหล่งที่มา: http://academic.obec.go.th/textbook/web/index.php

ผู้แต่ง ผู้แต่งควรรับผิดชอบในการแต่งหนังสือด้วยการศึกษาหาความรู้ เพื่อจะเสนอ


สำหนักพิมพ์ รับผิดชอบในด้านการพิมพ์ให้ถูกต้อง มีคุณภาพของรูปเล่มที่ดี
ครูผู้สอน

ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกหนังสือเล่มที่ดีที่สุด เป็นประโยชน์มากที่สุดให้นักเรียนใช้ และครูควรใช้หนังสือหลายๆเล่ม รวมทั้งการค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสืออื่นๆ และควรเสนอแนะข้อบกพร่องต่างๆที่พบในหนังสือให้แก่ ___________________
ได้รับทราบ เพื่อจะได้ปรับปรุงหนังสือให้ดีมีคุณภาพต่อไป





บทที่ 2
การดำเนินการวิเคราะห์หนังสือ

การวิเคราะห์หนังสือ หมายถึง การพิจารณาแยกส่วนประกอยของหนังสืออย่างมี หลักเกณฑ์ โดยคำนึงถึงลักษณะของหนังสือเล่มนั้นๆ 3 ด้าน คือ
·    คุณสมบัติทั่วไป
·    คุณสมบัติรูปเล่ม (คุณสมบัติภายนอก)
·    คุณค่าทางวิชาการ (คุณค่าภายใน)

ขั้นตอนการดำเนินการวิเคราะห์หนังสือ มีดังนี้

1.       การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์หนังสือ
2.       การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราววิเคราะห์หนังสือ
3.       การสำรวจหนังสือที่จะวิเคราะห์
4.       การเลือกวิธีวิเคราะห์หนังสือ
5.       ประชากรและการเลือกตัวอย่าง
6.       การตั้งเกณฑ์การวิเคราะห์หนังสือ
7.       เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์
8.       สถิติที่ใช้ในการวัดข้อมูล
9.       วิธีการนำเสนอข้อมูล
10.การสรุปผล อธิบายผลและข้อเสนอแนะ
11.การรายงานผลการวิเคราะห์หนังสือ




1. การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์หนังสือ

วัตถุประสงค์ ( ______________) อาจใช้คำว่า _____________________
หมายถึง สิ่งที่ต้องการหรือ ผลที่พึงปรารถนา

การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์หนังสือ เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการ วิเคราะห์ การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จะทำให้การวิเคราะห์หนังสือง่ายขึ้น
วัตถุประสงค์ควรจะกล่าวถึงหนังสือที่เลือกมาวิเคราะห์ว่าเป็นหนังสืออะไร  วิเคราะห์ด้านใด วิเคราะห์ทำไม เพื่ออะไร ผู้วิเคราะห์อาจแยกเป็นหัวข้อได้ เช่น
·การวิเคราะห์หนังสืออ่านเพิ่มเติมและส่งเสริมการอ่าน หมวดวิชาภาษาไทย  ชั้นมัธยมตอนต้น
·การวิเคราะห์เนื้อหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหนังสือวิทยาศาสตร์  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
·    การวิเคราะห์และประเมินหนังสือเรียน วิชาสังคมศึกษา ส. 605
·การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษในภาษาพูดของนักศึกษาวิชา เอกภาษาอังกฤษ ระดับ ประกาศนียบัตร
·    การวิเคราะห์แบบเรียนระดับ ม. 4
·    การวิเคราะห์เนื้อหาด้านจริยธรรมในหลักสูตรม.ปลาย 2524
·    การวิเคราะห์หนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ชุดวรรณจักษณ์ เล่ม 1 ม.3
·    การวิเคราะห์คุณค่าของเรื่องสั้นที่ใช้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา ระดับม.ปลาย
·    การวิเคราะห์หนังสืออ่านประกอบวิชาสัมคมศึกษา ม.ต้น
·    การวิเคราะห์แบบเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นม.1
การเรียนการวิเคราะห์แบบเรียนในวิชานี้ มุ่งให้นักศึกษาวิเคราะห์หนังสือใน 3 ด้าน คือ คุณลักษณะทั่วไป คุณลักษณะรูปเล่ม และคุณค่าทางวิชาการ

2. การศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์หนังสือ

ผู้วิเคราะห์ควรศึกษาอย่างละเอียดในด้านต่างๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ ความรู้ในสาขาวิชาที่วิเคราะห์ ความรู้เฉพาะเรื่องที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์  สถิติที่ ใช้ และความรู้โดยอ้อมที่จะช่วยให้เข้าใจการวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอาจศึกษาได้จาก
1.หนังสือที่เกี่ยวข้อง   เช่น หากต้องการวิเคราะห์หนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษา จึงจำเป้นต้องอ่านหนังสือเล่มนั้นอย่างละเอียด และอาจอ่าน หนังสือเหล่านี้เพิ่มเติม เช่น
ü เบ็ญจวรรณ สุนทรากูล, การวิเคราะห์แบบเรียนไทย เรื่อง วิวัฒนาการแบบเรียนไทย
üธวัช ปุณโณทก, การวิเคราะห์แบบเรียนไทย ตอน 2 เรื่อง รูปแบบและ เนื้อหาวรรณกรรมแบบเรียนไทย
ü นิพนธ์ สุขสวัสดิ์, ว่าด้วยเรื่องแบบเรียนภาษาไทย
ü ประภาศรี สีหอำไพ, วิธีการสอนภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษา
ü นพคุณ คุณาชีวะ, การวิเคราะห์หนังสือแบบเรียน
2.สิ่งพิมพ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่วิเคราะห์ เช่น หนังสืออ้าง อิง หนังสือสารคดี หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วารสาร
3.วิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรเริ่มอ่านจากบทคัดย่อ อ่านหเนื้อหาของบทต่างๆอย่างคร่าวๆ และจึงอ่านละเอียดอีกครั้ง โดยเฉพาะวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
4.ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อสัมภาษณ์ สนทนา กรอกแบบสอบถามสำรวจความเห็น แบบประเมิน ซึ่งจะช่วยให้ผู้วิเคราะห์มี ความรู้ ึวามเข้าใจในการวิเคราะห์หนังสือเรียนเพิ่มขึ้น

3. การสำรวจหนังสือที่จะวิเคราะห์

การสำรวจนังสือจะพิจารณาคร่าวๆในเรื่องต่อไปนี้ ________________________
ผู้แต่ง_____________ ละการใช้หนังสือ กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้หนังสือ เล่มนี้ในโรงเรียนหรือไม่ มีโรงเรียนใดใช้อยู่บ้าง
การสำรวจหนังสือเพื่อนำมาวิเคราะห์ แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
1.การสำรวจและวิเคราะห์หนังสือเล่มเดียว ผู้วิเคราะห์ต้องวิเคราะห์หนังสือทุก ด้านอย่างละเอียด ในการสำรวจหนังสือแบบนี้ ต้องดูว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ปี ล่าสุด
2.การสำรวจเพื่อวิเคราะห์หนังสือหลายเล่ม แบ่งเป็น การวิเคราะห์หนังสือใน แนวตั้ง, แนวนอน และทั้งแนวตั้งและแนวนอน
ü  การวิเคราะห์หนังสือในแนวนอน (Horizontal Textbook Analysis)
เป็นการวิเคราห์หนังสือวิชาเดียวกัน ชั้นเดียวกัน แต่มีผู้แต่งหลายคนหรือ หลายคณะ และหนังสือที่กล่าวมานี้ต้องเป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการ รับรอง
การวิเคราะห์แนวนี้ เน้นการเปรียบเทียบหนังสือแต่ละเล่ม ซึ่งต้องมีเนื้อหา เดียวกัน ของผู้แต่งแต่ละคณะ แต่ละสำนวน ในด้านรายละเอียดของเนื้อหา การอธิบายเนื้อหา เข้าใจง่าย และเน้นการพิมพ์ เช่น ________________  และ ______________เป็นต้น

ü การวิเคราะห์หนังสือในแนวตั้ง (Vertical Textbook Analysis)
เป็นการวิเคราะห์วิชาเดียวกัน ผู้แต่งคณะเดียวกัน ในหลายระดับชั้น การวิเคราะห์แบบนี้ ต้องดูว่าผู้แต่ง แต่งไว้ทุกระดับชั้นหรือไม่ ถ้ามีไม่ครบก็ วิเคราะห์แนวนี้ไม่ได้
การวิเคราะห์แนวตั้งนี้ เพื่อศึกษาการนำเสนอเนื้อหาถึงการเรียงลำดับเนื้อหา ระดับความยากง่ายของเนื้อหา เหมาะสมกับระดับชั้นเรียน ปริมาณของเนื้อหาในแต่ ละระดับชั้นเรียน และอาจวิเคราะห์ในด้านคุณภาพของรูปเล่มด้วยก็ได้

üการวิเคราะห์หนังสือทั้งแนวนอนและแนวตั้ง (Both Horizontal and Vertical Textbook Analysis)
เป็นการวิเคราะห์หนังสือวิชาเดียวกัน ของผู้แต่งคนเดียวกัน หรือคณะเดียวกัน ในหลายระดับชั้น ซึ่งหนังสือทุกเล่มต้องได้รับอนุญาตจาก _______________
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์แบบนี้ อาจวิเคราะห์ทุกด้าน หรือเพียงบางด้าน ก็ได้ และอาจวิเคราะห์ทุกหน้า หรือ ______________  ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของ ผู้วิเคราะห์


4. การเลือกวิธีวิเคราะห์หนังสือ

การเลือกวิธีวิเคราะห์หนังสือ  แบ่งเป็น 3 ชนิด  คือ
·    การวิเคราะห์ด้วยตนเอง
·    การวิเคราะห์ด้วยการตั้งคณะกรรมการ
·    การวิเคราะห์ด้วยการส่งเครื่องมือวิเคราะห์ให้ผู้เกี่ยวข้อง

1. การวิเคราะห์ด้วยตนเอง  ผู้วิเคราะห์จะดำเนินการเพียงคนเดียว โดยวิเคราะห์เรื่อง ที่ต้องการจากหนังสือที่สำรวจเพื่อนำมาวิเคราะห์ซึ่งต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ  เพื่อให้การวิเคราะห์มีความเชื่อถือได้สูง (Liability)
ผู้วิเคราะห์อาจวิเคราะห์จากหนังสือเล่มเดียวหรือหลายเล่มก็ได้  ถ้าวิเคราะห์เล่มเดียวควรวิเคราะห์  ทุกหน้าแต่ถ้าวิเคราะห์หลายเล่มอาจ    ทั้งนี้ต้องหาค่าความแปรปรวนเพื่อจะได้ทราบว่า การสุ่มนั้นเป็นตัวแทนของประชากร (คือ หนังสือทุกหน้า) ได้

การวิเคราะห์แบบนี้  เน้นการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือที่วิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์รูปเล่ม  การวิเคราะห์เครื่องช่วยประกอบ  เช่น  _________________
________________ คำที่สะกดผิด  การปรากฎของคำ เช่นคำนาม  คำวิเศษณ์  คำบาลีสันสฤต   การใช้ประโยค เช่น ประโยคความเดียว  ประโยคความซ้อน 

วิธีนี้ทำได้ง่ายและสะดวก  สามารถทำเสร็จได้ตามเวลาที่ต้องการ แต่มีข้อเสีย คือ  ความเชื่อถือได้อาจลดลง ถ้า________________________________________

2. การวิเคราะห์ด้วยการตั้งกรรมการ  วิธีนี้คล้ายกับการวิเคราะห์ด้วยตนเอง  เพียงแต่ว่าวิธีนี้  ผู้วิเคราะห์ต้องการความเห็น หรือ การตัดสินใจจากคนอื่นด้วย จึงตั้งเป็นกรรมการเพื่อวิเคราะห์หนังสือขึ้น  กรรมการคณะหนึ่งควรประกอบ ด้วยกรรมการ  4 ถึง 12 คน 

วิธีนี้สะดวกเหมือนวิธีแรก คือ_____________________แต่สิ่งที่จะทำให้การวิเคราะห์มีความเชื่อถือได้สูงคือ  ต้องจัดการประชุมกรรมการทั้งหมด  เพื่อให้กรรมการทุกคนเข้าใจเกณฑ์  และข้อตกลงเบื้องต้น  รวมทั้งใช้มาตรฐานในการวิเคราะห์ ได้ใกล้เคียงกัน  ถ้าไม่มีการประชุมร่วมกันจะทำให้การวิเคราะห์คลาดเคลื่อนได้
 
3. การวิเคราะห์ด้วยการส่งเครื่องมือวิเคราะห์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง  ผู้วิเคราะห์ต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาก่อน  แล้วส่งไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่ม นั้นให้ข้อมูลได้แก่ 1.) _____________  2.) ___________  3.) _____________ และผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ

ข้อมูลที่ได้ จากวิธีที่มีความเชื่อถือไดสูง  ถ้าได้ข้อมูลกลับมามีจำนวนมากพอ แต่มักมีปัญหา คือ _____________________
วิธีนี้ใช้เวลามาก  กว่าจะได้ข้อมูลตามจำนวนที่ต้องการ

เนื่องจากแต่ละวิธีทั้งข้อดีและข้อเสีย  ฉะนั้นผู้วิเคราะห์ อาจใช้หลายวิธีประกอบกัน เช่น ____________________________________________________________


5. ประชากรและการเลือกตัวอย่าง

ประชากร    การวิเคราะห์หนังสือมีประชากรที่สำคัญ 2 ชนิด คือ ______________ และ _______________                 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ แบบเรียนที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่  _______________________________________

วิธีการเลือกตัวอย่าง (_________) การเลือกตัวอย่าง จะทำก็ต่อเมื่อ _____________ ผู้วิจัยไม่สามารถ จะใช้ประชากรทั้งหมดได้ จึงต้องเลือกตัวแทนมาจากประชากร ทั้งหมด

การเลือกตัวอย่างแบ่งเป็น  2 วิธี คือ 
·    การเลือกแบบสุ่มตัวอย่าง (___________________) และ
·     การเลือกแบบแบ่งตัวอย่างเป็นชั้น  (_____________________)

การเลือกแบบสุ่มตัวอย่าง 

วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของ ประชากรกลุ่มใหญ่  แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ  การจับฉลาก และ การใช้ตารางเลขสุ่ม

การใช้ตารางเลขสุ่ม
        
ในชั้นแรก  ต้องใส่หมายเลข 2  หลักให้แต่ละข้อมูลก่อนจนครบตามจำนวน  แล้วจึงใช้ตารางเลขสุ่ม  ซึ่งอาจเริ่มต้นที่เลขจำนวนใดก็ได้  และเริ่มจากเลขจำนวนนั้น  โดยอ่านเลขทีละ 2 หลัก  จะอ่านไปทางไหนก็ได้  ไม่ว่าก็ให้ตัดตัวเลขนั้นไป  แล้วอ่านตัวเลขถัดไป  จนได้ข้อมูลครบตามที่ต้องการ
ตัวอย่างเลขสุ่ม 
08086
54463
22662
64905
70639
29065
59391
58030
26827
15389
85205
18850
39226
51141
99567
47636
15345
85941
40756
82414
02015
33316
10363
97518
77455
61149
69440
11286
88218
28612
86859
19558
75577
05219
81619
10651
67079
08188
11258
24591

79365
67382
29085
69831
47058
52098
82718
87204
42249
90669
96325
23248
60933
77204
04615
27062
13858
78030
86269
65978
01385
51400
25670
98342
58925
03638
52862
62733
33451
64432
16706
99612
92511
59888
84502
72095
83463
36863
55368
31721

ตัวอย่าง  ถ้าต้องการส่งแบบสอบถามไปยังจังหวัดต่างๆ 12 จังหวัด ผู้วิเคราะห์ต้องเขียนรายชื่อจังหวัดทั้งหมดเรียงตามลำดับอักษร  ใส่หมายเลข 2 หลัก  ในแต่ละจังหวัดจนครบทุกจังหวัด แล้วหลับตาเลือกเลขในตาราง สมมุติได้  ๓๙๒๒๖  ผู้วิเคราะห์  อาจอ่านเลขลงมาข้างล่างได้ทีละ 2 ตัว  ได้เลข 02  บรรทัดต่อมาตัด ๘๘  ออกเพราะเกินจำนวนจังหวัด ตัวเลขที่ได้ก็คือ หมายเลขของจังหวัดที่จะส่ง แบบสอบถาม  

ถ้าไม่มีตาราง  ผู้วิเคราะห์อาจเอาจำนวนประชากร (ในที่นี้ประชากรคือ__________) ที่มีอยู่ หารด้วยจังหวัดที่ต้องการ  เช่น  76 จังหวัด  หารด้วย 12  ถือว่า 6 เป็นจำนวนเลข 1 ช่วง จากนั้นผู้วิเคราะห์ก็เลือกเลขใดเลขหนึ่ง ระหว่างเลขที่ 1 – 6  สมมุติว่า เลือกเลข 3 จังหวัดที่จะเลือกได้แก่ 3  9  15   . . . .  .

การเลือกแบบแบ่งตัวอย่างเป็นชั้น

วิธีนี้  ผู้วิเคราะห์ต้องรู้ลักษณะที่สำคัญของประชากร  แล้วแบ่งประชากรออกเป็นชั้น ตามลักษณะ หรือคุณสมบัติของประชากร  จากนั้นจึงเลือกตัวอย่างแต่ละชั้น  แต่ละกลุ่ม  ตามสัดส่วนของประชากร  เช่น นักเรียนที่ใช้หนังสือที่จะวิเคราะห์ก็สุ่มตามประเภทของโรงเรียนก่อน  เช่น  โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน แล้วจึงสุ่มตัวอย่าง  โดยการจับฉลาก หรือ  การใช้ตารางเลขสุ่ม

ข้อมูลที่ได้คืนมาควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มิฉะนั้น  ผลที่ได้ก็ยังเชื่อถือไม่ได้

6. การตั้งเกณฑ์วิเคราะห์หนังสือ

เกณฑ์ในการวิเคราะห์หนังสือ  คือ  ข้อกำหนดที่วางไว้   เพื่อเป็นขอบข่ายของการ วิเคราะห์หนังสือการตั้งเกณฑ์ควรจะกำหนดไว้ให้ละเอียดชัดเจนและครอบคลุมทุก
ด้านที่มีอยู่ในวัตถุประสงค์  เพื่อจะทำให้วิเคราะห์ได้สะดวกและง่ายขึ้น
        
จากวัตถุประสงค์ของวิชานี้  นักศึกษาจะวิเคราะห์หนังสือ 3 ด้าน  คือ 
1.       _______________________
2.       _______________________
3.       _______________________

เกณฑ์การวิเคราะห์คุณลักษณะทั่วไปของหนังสือ ได้แก่ 
ผู้แต่ง  รายละเอียดการพิมพ์  สำนักพิมพ์  ราคา

ผู้แต่ง          มีคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ อย่างน้อยระดับปริญญาตรี
                  มีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 3 ปี
                  มีประสบการณ์ในการแต่งหนังสือ
                  มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมประกอบการแต่งหนังสือ
                  มีหน้าที่เกี่ยวข้องในวงการศึกษา

รายละเอียดการพิมพ์      มีรายละเอียดเกี่ยวกับปีที่พิมพ์  ครั้งที่พิมพ์  และ จำนวนที่พิมพ์ 
ควรพิมพ์มาแล้วครั้งล่าสุดไม่เกิน 5 ปี   ถ้าเกินควรมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย  ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้นทุกครั้งที่พิมพ์

สำนักพิมพ์  มีอุปกรณ์การพิมพ์ที่ทันสมัย  ทำให้พิมพ์ได้สวยงามรวดเร็ว 
                  มีผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์  มีผลงานที่มีความถูกต้องและประณีต
                  มีประสบการณ์และชื่อเสียงในการพิมพ์ในการพิมพ์หนังสือ

ราคา           ราคาที่เหมาะสมกับความหนาของหนังสือ และ คุณภาพของกระดาษ

เกณฑ์การวิเคราะห์ลักษณะรูปเล่ม  ได้แก่  ขนาดของรูปเล่ม กระดาษที่ใช้พิมพ์  ปก  คำนำ  สารบัญ  คุณภาพในการพิมพ์  การเย็บเล่ม

ขนาดของรูปเล่ม  ความกว้างและความยาวเหมาะสมกับความหนาของหนังสือ
                           มีขนาดเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของนักเรียน
                  หนังสือระดับมัธยมศึกษาควรมีรูปเล่มเป็นแนวตั้งขนาด 8 หน้าย
                           มีความกว้างยาวขนาด 7 คูณ 10 นิ้ว
กระดาษที่ใช้พิมพ์ มีความคงทน  ไม่ขาดหรือเปื่อยง่าย
                           มีความหนาพอควร  หมึกไม่ซึมทะลุไปอีกข้างหนึ่ง
                           สีของกระดาษขาวสะอาดตา  ควรเป็นกระดาษบรู๊ฟฟอกขาว  หรือ 
                           กระดาษปอนด์
ปก                      กระดาษที่ใช้ทำปกมีความหนาทนทาน
                           สีของปกสวยสะดุดตา  ดึงดูดความสนใจ
                           บนปกมีข้อความครบถ้วน ได้แก่  ชื่อผู้แต่ง  ชื่อหนังสือ ระดับชั้น 
                           และราคา
คำนำ                   ระบุจุดมุ่งหมายในการแต่งอย่างชัดเจน
                           มีการเสนอวิธีใช้หนังสืออย่างละเอียด
                           ระบุเรื่องที่ปรับปรุง หรือ เพิ่มเติม ในคำนำของการพิมพ์แต่ละครั้ง
                           ถ้ามีผู้แต่งเกิน 5 คน  ควรระบุชื่อผู้แต่งไว้ในคำนำ
สารบัญ                ประกอบด้วย ลำดับบท  ชื่อบท  หัวเรื่อง  และ ลำดับหน้า 
                           มีสารบัญเรื่องอย่างครบถ้วน
                           เรื่องและหน้าในสารบัญ ต้องตรงกับในเนื้อเรื่อง
คุณภาพในการพิมพ์       การพิมพ์ประณีต  สะอาดตา  หมึกไม่เลอะเทอะ 
                           ตัวสะกด  การันต์  เว้นวรรคถูกต้อง 
                           ตัวอักษรที่พิมพ์  เป็นระเบียบ  สม่ำเสมอ น่าอ่าน
ใช้ตัวพิมพืตามแบบ  เพื่อเน้นข้อความสำคัญ เช่น  ตัวพิมพ์ดำ    ตัวพิมพ์กลาง  ตัวพิมพบาง ขนาดของตัวพิมพ์ใช้หลายขนาด  เช่น  เนื้อเรื่อง  ใช้ตัวพิมพ์บางขนาด 16 พอยท์    หัวข้อใช้ตัวพิมพ์ดำขนาด 24 พอยท์ 
                           หน่วยในการวัดตัวพิมพ์ เรียกว่า พอยท์  1 พอยท์ เท่ากับ 1 นิ้ว
                           การจัดหน้า เว้นขอบหน้าทั้ง 4 ด้าน ประมาณครึ่ง ถึง 1 นิ้ว
การเย็บเล่ม          ควรเย็บเล่มทน ไม่หลุดง่าย
                           การเข้าเล่มดีเปิดอ่านได้สะดวก
                           ตัดขอบกระดาษ 3 ด้าน เรียบร้อย
                           การเรียงลำดับหน้าถูกต้อง  ไม่สลับหน้า  ไม่กลับหัวกระดาษ
                           จำนวนหน้ากระดาษครบถ้วน

เกณฑ์การวิเคราะห์คุณค่าทางวิชาการ ได้แก่  เนื้อหา  เครื่องช่วยประกอบเนื้อหา  บทสรุป  กิจกรรมเสนอแนะและแบบฝึกหัด  รายชื่อหนังสืออ้างอิงหรือหนีงสืออ่านประกอบ  ลักษณะการเขียน

เนื้อหา        สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวิชา  เนื้อหาครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 
                  ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ตามหลักวิชา  และให้รายละเอียดเพียงพอ
                  ทันสมัยต่อเหตุการณ์  สามารนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
แบ่งเนื้อหาไม่ซับซ้อน เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก  เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของนักเรียน 
                  ปริมาณเนื้อหาในแต่ละบทเหมาะสม  มีความต่อเนื่องในแต่ละบท
                  ให้สาระความรู้ทางด้านสติปัญญา
                  มีบทอภิปรายแสดงความคิดเห็นที่มีต่อสังคม

เครื่องช่วยประกอบเนื้อหา       ได้แก่  ภาพ  ตาราง  แผนที่  แผนภูมิ
ควรมีความถูกต้องชัดเจน   ขนาดเหมาะสม  มีจำนวนมากพอ  ภาพตรงตามจุดประสงค์ของเนื้อเรื่อง  จุดสนใจต้องใหญ่สะดุดตา  ตีความหมายง่าย  เหมาะสมกับวั ย  ความสนใจ  ตลอดจนเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของนักเรียน  ควรมีทั้งภาพถ่าย  ภาพวาด ที่ชัดเจนตรงกับความเป็นจริง  มีชีวิตจิตใจ  ควรเป็นภาพสี  เพราะตรงกับความเป็นจริง  และน่าสนใจมากกว่าภาพขาวดำ  วางภาพได้เหมาะสม  มีคำบรรยายภาพที่สมบูรณ์

บทสรุป      สั้น  กะทัดรัดชัดเจน  เข้าใจได้ง่าย  เน้นให้เข้าใจเนื้อหาที่สำคัญในบทนั้น ให้แง่คิดเพิ่มเติม

กิจกรรมเสนอแนะและแบบฝึกหัด    สอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อเรื่อง  ทำให้เข้าใจเนื้อหา และมีลักษณะเพิ่มขึ้น  ท้าทายความสนใจและความสามารถในการคิด  ไม่เน้นความรู้  ความจำ  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

หนังสืออ้างอิงและหนังสืออ่านประกอบ    สัมพันธ์กับเนื้อหา  มีรายชื่อมากพอ  เหมาะสมกับวัย และระดับชั้น

ลักษณะการเขียนและสำนวนภาษา
การวางเค้าโครงเร่อง ลำดับเรื่อง  ลำดับบท  ไม่ซับซ้อน  เรียงจากง่ายไปหายาก  น้ำหนักของเรื่องแต่ละเรื่องเหมาะสม  ไม่มีเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป สำนวนภาษาควรต่อเนื่อง  มีการเน้นให้เห็นลักษณะและหัวข้อสำคัญ 

การใช้ภาษา  มีการใช้ภาษาที่เหมาะสม  ตัวเลขถูกต้อง  รูปประโยคสั้นชัดเจน
เข้าใจได้ง่าย  ศํพท์เหมาะสมกับวัยของเด็ก    ถ้ามีศัพท์มากหรือศัพท์เฉพาะ ควรมีคำอธิบายศัพท์

เกณฑ์การวิเคราะห์หนังสือสังคมศึกษา

ความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
         เนื้อหาสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  และคำอธิบายรายวิชา
         เนื้อหาให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ได้ถูกต้อง
         เนื้อหาให้ทัศนคติในคุณค่าของสังคม
สาระด้านสติปัญญา
         เนื้อหาให้ความรู้และข้อเท็จจริงที่ค้นพบใหม่
         การจัดเนื้อหามีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันหลายวิชา
         เนื้อหาให้ความรู้แก่นักเรียนให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
         มีการอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดถูกต้อง  ใช้ภาษาที่ถูกต้อง 
         เนื้อหาแต่ละเรื่องมีความต่อเนื่อง  ครอบคลุมแนวคิดสำคัญ
สาระด้านสติปัญญา
         เนื้อหาเหมาะสมกับวัยและระดับสติปัญญาของนักเรียน
         เนื้อหาช่วยหเกิดค่านิยมที่ถูกต้อง
         การเสนอตัวอย่างช่วยให้นักเรียนเกิดภาพพจน์ที่ถูกต้อง 
         วิธีการเสนอเนื้อหาส่งเสริมให้เกิดการคิดอย่างมีเหตุผล

เกณฑ์การวิเคราะห์แบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ความยากง่ายของเนื้อหา
         สำนวนภาษาในแบบเรียนเข่าใจได้ง่าย  ศัพท์ที่ใช้มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เนื้อหาเหมาะสมกับชั้นและวัยของนักเรียน  คำอธิบายแจ่มแจ้งกะทัดรัด
         แบบฝึกหัดมีความยากง่าย เหมาะสมกับระดับชั้นของนกัเรียน   และวัยของนักเรียน
ระบบการเขียนบทเรียน
         การจัดบทเรียนต่อเนื่องกันตามลำดับ  เนื้อหาเรียงจากง่ายไปหายาก 
         มีตัวอย่างที่แสดงวิธีทำ  ทำให้นักเรียนคิด ควรมีการยกตัวอย่างในบทเรียนก่อนแล้วจึงสรุป 
         วิธีการเขียนชี่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม   มีคำสั่ง คำถามที่ทำให้นักเรียนต้องคิด 
         มีแบบฝึกหัดย่อยต่อท้ายบทเรียนแต่ละตอนท้ายบทเรียนควรมีแบบฝึกหัด รวม  ทั้งยากและง่าย
ความสอดคล้องของเนื้อหากับหลักการเรียนการสอน
         เนื้อหามีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ของนักเรียน เกี่ยวโยงกับเนือ้หาวิชาอื่นที่ต้องใช้เลข จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน มีการสรุปกฎเกณฑ์ ที่ชัดเจน แบบฝึกหัดแต่ละบทเหมาะกับความสนใจของนักเรียน ภาพประกอบเหมาะสมกับวัยและความสนใจของนักเรียน  ภาพสามารถกระตุ้นให้นยักเรียนสนใจบทเรียน
ความถูกต้องของเนื้อหา
         เนื้อหาถูกต้องตามข้อเท็จจริง  คำนิยามศัพท์ถูกต้องชัดเจน  ภาพ  แผนภูมิ  ตาราง  ถูกต้อง  จัดกิจกรรมได้ถูกต้อง เหมาะสมกับเนื้อหา  มีวิธีการแก้ปัญหาและการคิดคำนวณที่ถูกต้อง  ตามหลักคณิตศาสตร์  การให้เหตุผลเป็นไปตามลำดับอย่างถูกต้อง  เนื้อหาช่วยให้นักเรียนมีความคิดรวบยอดที่ถูกต้อง เน้นให้นักเรียนเข้าใจโครงสร้างของคณิตศาสตร์และการใช้เหตุผลอย่างถูกต้อง  สามารถหาคำตอบได้ถูกต้องแน่อนบทสรุปถูกต้อง


(สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2557) (Mahmood, 2011) (Fredericks, 2005) (Ann) (รัตนสุภา, 2551)