วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

English with Drama: Natural Approach by Kru Oat, Kru Kim and Kru Eve









Congratulations! ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับกับน้องๆโรงเรียน เทศบาลนครนนท์วิทยา 1 (วัดท้ายเมือง)  สำหรับรางวัลเหรียญทองยอดเยี่ยม จากการประกวด ละครภาษาอังกฤษ ชนะเลิศระดับภาค ในงานการแข่งขันทักษะวิชาการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ภาคกลาง)ครั้งที่ 10/2557 ที่หัวหิน

ครูโอ๊ต ครูคิมและครูอีฟ ได้มีโอกาสในการฝึกสอนน้องๆทางด้านภาษาอังกฤษ การแสดงละครและการสร้างพลังในตัวเอง ภายใต้การควบคุมของท่าน ผอ. พักตร์สร สิรบุณยภัค และครูเอ๊ะ คนเก่งของเรา 

เด็กๆ ตั้งใจฝึกซ้อมกันมากๆ ครูโอ๊ตเริ่มปูพื้นฐานตั้งแต่การออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง การใช้กิจกรรมการแสดงในการสอนภาษาอังกฤษ และช่วยครูเอ๊ะ ครูซิม ฝึกซ้อมน้องๆ... ต้องขอบอกว่า เด็กๆมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก 

จากเด็กๆที่ไม่กล้าแสดงออก กลายเป็นเด็กที่มั่นใจในการแสดง, 
จากเด็กๆที่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ จนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้หลายประโยค, 
จากเด็กๆที่วิ่งซนอยู่ในโรงเรียน กลายเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีม และมุ่งมั่นในการฝึกซ้อม

ทั้งหมดนี้เป็นการใช้กระบวนการละคร เพื่อการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง

ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดแรงสนับสนุนจาก ผู้ใหญ่ใจดี คณะผู้บริหารเทศบาลนครนนทบุรี
ท่านผอ. และท่านรองโรงเรียนนว.1 ที่คอยสนับสนุน ทั้งทางด้านทุนทรัพย์และกำลังใจ รวมทั้งครูเอ๊ะ(ผู้กำกับคนเก่งและควบคุมการแสดงทั้งหมด) ครูซิม (ผู้ช่วยผู้กำกับ) ครูBecky (ครูต่างชาติ เรื่องเขียนสคริป และการออกเสียง) ครูยุ้ย(sound) ครูแอน(แต่งหน้าและเสื้อผ้า) ครูสมภพ(ฝ่ายฉาก) และคุณครูอีกหลายๆท่านที่ไม่ได้กล่าวมา ณ ที่นี้ คุณครูทุกท่านต่างทุ่มเท เสียสละ ให้ความรัก และความเชื่อมั่นในตัวเด็กๆ ทำให้เด็กๆได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาคนี้ 

ครูโอ๊ตขอชื่นชมทุกๆฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องและความสามารถของเด็กๆทุกคนด้วยนะครับ

รักเด็กๆเสมอ

ครูโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา
English Drama Specialist

"English Super Fun!"
#Drama in Education #D.I.E. #englishdrama #clt #naturalenglish



วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทำไม การจดบันทึกรายงานการประชุม จึงเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Minute" โดย ครูโอ๊ต ชานุกฤต เธียรกัลยา

สวัสดีดีครับ เพื่อนๆ

วันนี้ครูโอ๊ตตื่นเช้ามา ยังนอนอยู่บนเตียงเลย แล้วทันใดนั้น (all of the sudden) ครูโอ๊ตก็เกิดความสงสัย (wonder) ขึ้นมาว่า คำว่า "Minute" ที่แปลว่า นาที (เวลา) นั้น ทำไมถึงใช้ในความหมายที่ว่า การจดบันทึกรายงานการประชุม ได้ด้วย

เจ้าความสงสัยนี่ไม่เข้าใครออกใครครับ เลยไปค้นหาคำตอบมาให้เพื่อนๆกัน


คำว่า Minute (ออกเสียงว่า มินิท /ˈmɪnɪt/ )   Stress เน้นพยางค์แรกmin¦ute
นอกจาก จะแปลว่า นาที ตามที่เรารู้ๆกันอยู่แล้ว เช่น  Where have you been, Sara?  I've been waiting for you for 45 minutes! หายหัวไปไหนมายายซาร่า  ฉันรอเธอมาตั้ง 45 นาทีแล้วนะ! (เสียงวีนมากครับ)

คำว่า Minute ออกเสียงเหมือนกันเป๊ะเลย ยังแปลว่า การจดบันทึกรายงานการประชุมด้วย
แต่ ที่มานั้น น่าสนใจครับ เพราะ คำว่า Minute นี้ ไม่ได้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับเวลาเลย แต่มันกลับมีความหมายว่า "เล็กมาก" ซึ่งคำว่า Minute นี้สามารถออกเสียงได้อีกแบบว่า มาย-นูททึ/mʌɪˈnjuːt/ หรือ [my-newtซึ่งแปลว่า เล็กมากๆเลย (extremely small) โดยคาดการณ์ว่า มาจากรากศัพท์ลาติน คำว่า minuta scriptura หรือ  small note แปลเป็นไทยว่า บันทึกชิ้นเล็กมาก นั่นเอง 

ครูโอ๊ตคิดว่า มันถูกเพี้ยนเสียง เพราะความเคยชิน จึงเรียก มินิท เหมือนกับคำที่แปลว่า นาที

ที่นี้ รู้ที่มาแล้วใช่ไหมครับ ว่า ทำไม Minute จึงแปลได้ทั้ง นาที และการจดบันทึกการประชุม
ความหมายแรก แปลตรงตัว ครับ
ส่วนความหมายที่สอง ถูกเพี้ยนเสียง มาจากความหมายที่แปลว่า เล็กมาก (จดละเอียด ถี่ถ้วน) นั่นเอง

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ให้เพิ่มเติมอีกหน่อยละกัน มีสำนวนเกี่ยวกับ Minute อยู่หลายคำครับ แต่ง่ายๆทั้งนั้น ไปทบทวนกันเลยดีกว่า

Just (wait) a minute = รอแป๊บหนึ่งนะ เช่น Just a minute, I am coming down now! รอแป๊บหนึ่งนะ ฉันกำลังลงไปแล้ว

Any minute = ในไม่ช้านี้ (very soon) เช่น  John will be here in any minute.  เด๋วจอห์นก็มาแล้ว อีกไม่นานนี้นะ

Not for a minute = ไม่เลย (not at all) เช่น  Not even for a minute that I think it was your fault! ไม่มีแม้สักนาทีเดียวที่ฉันคิดว่าเป็นความผิดของคุณ 


ไปอาบน้ำดีกว่า
แล้วเจอกันคร้าบ

ครูโอ๊ต
Reference: www.Oxforddictionaries.com 







วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ใช้ยังไงกันแน่ see someone doing something หรือ see someone do something โดย ครูโอ๊ต ชานุกฤต

วันนี้ครูโอ๊ตขอนำเสนอ หลักโครงสร้าง Verb of Perception นะครับ

Verb of Perception คือ กิริยาที่บ่งบอกการรับรู้ หรือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นเอง (ดู ฟัง ได้ยิน ฟัง ได้กลิ่น เห็น สัมผัส) เช่น see, hear, listen, watch, smell, notice, observe, feel

รูปแบบ การใช้ มี 2 แบบครับ

แบบ1: Verb of Perception + Someone + Doing something
แบบ2: Verb of Perception + Someone + Do something


เช่น I saw James Ji singing a song.
แปลว่า ฉันเห็นเจมส์ จิ กำลังร้องเพลงอยู่ (ขณะเจมส์ จิร้องเพลงอยู่ ฉันเห็นพอดี)

I saw James Ji sing a song.
แปลว่า ฉันเห็นเจส์ จิ ร้องเพลง (สื่ิความหมายว่า เจมส์จืร้องเพลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

ดังนั้น โครงสร้างนี้จึงมีข้อแตกต่างกันอยู่นิดเดียว ตรงที่ว่า
ถ้าเราใช้ Present Participle (doing something) แสดงว่า เหตุการณ์นั้น ยังไม่จบสมบูรณ์ หรือ เราเห็นแค่ช่วงใดช่วงหนึ่งเท่านั้น

แต่ถ้าเราใช้ รูป Infinitive (do something) แสดงว่า เราเห็นเหตุการณ์นั้น ตั้งแต่ต้นจนจบ หรือ เหตุการณ์นั้นจบสิ้นเรียบร้อยแล้ว)

ระวังด้วยนะจ๊ะ อย่าเติม -s หลัง Verb เพียงเพราะเห็นว่า ประธานเป็นเอกพจน์อยู่ข้างหน้า เพราะกิริยาแท้ อยู่ที่ saw คร้าบ

I saw James Ji sings a song. จึงเป็นโครงสร้างที่ผิด

โชคดีทุกคนคร้าบ

ครูโอ๊ต